Page 83 - kpiebook63029
P. 83
82 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย
ในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2550 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่ตระกูลเร่งสมบูรณ์สุขหันมาลง
เล่นการเมืองระดับชาติด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนสามารถครองฐานเสียงทั้งจังหวัด
ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ทั้ง 2 เขต (ขณะนั้นจังหวัดเลยแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต แต่มี
จำานวน ส.ส. เขตละ 2 คน) โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 มีนายปรีชา และเขตเลือกตั้งที่ 2 นางเปล่งมณี จากพรรค
พลังประชาชน ทำาให้ทั้งคู่สามารถเอาชนะคู่แข่งอย่างถล่มทลาย เช่นเดียวกับการเลือกตั้งในปี 2554
ที่ทั้งคู่สามารถชนะการเลือกตั้งได้เช่นเดิม แม้ในปี 2557 เป็นการเลือกตั้งภายหลังการยุบสภาจาก
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ แต่ผลการเลือกตั้งอย่าง
ไม่เป็นทางการทั้งนายปรีชาและนางเปล่งมณีก็สามารถเอาชนะคู่แข่งจากพรรคการเมืองต่างๆ ได้อย่าง
ถล่มทลาย สะท้อนถึงบารมีในทางการเมืองของตระกูลเร่งสมบูรณ์สุขได้เป็นอย่างดี
61
ตระกูลทิมสุวรรณ
ตระกูลทิมสุวรรณเป็นตระกูลการเมืองอีกตระกูลหนึ่งที่มีชื่อเสียงและบารมีในจังหวัดเลย
มาอย่างยาวนานทั้งการเมืองในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และยังเป็นตระกูลที่มีฐานการเงิน ทุน
และธุรกิจครอบครัวที่มั่นคง เช่น โรงโม่หินสุรัตน์การศิลา การสัมปทานเหมืองแร่ การรับเหมาก่อสร้าง
การจำาหน่ายพืชพันธุ์และอุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้ทำาให้ตระกูล
ทิมสุวรรณเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้น
เดิมตระกูลทิมสุวรรณไม่ใช่คนจังหวัดเลยโดยกำาเนิด โดยมาปักหลักสร้างธุรกิจในจังหวัดเลย
ตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา โดยเฉพาะในเขตอำาเภอวังสะพุง ซึ่งถือเป็นพื้นที่ฐานเสียงหลักและแหล่งธุรกิจ
ของตระกูลทิมสุวรรณ โดยมีนายสุรัตน์ ทิมสุวรรณ เป็นผู้สร้างบารมีทางการเมืองท้องถิ่นในยุคเริ่มแรกด้วย
การลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเลย เขตอำาเภอวังสะพุง ในปี 2518 และได้ขยายเครือข่าย
ส.จ. ไปยังอำาเภอต่างๆ จนนายสุรัตน์ได้รับเลือกเป็นประธานสภาจังหวัดเลยในเวลาต่อมา รวมถึงการได้รับ
เลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยหลายสมัย ทำาให้นายสุรัตน์ได้รับฉายาว่าเป็น “เจ้าพ่อ
วังสะพุง” นอกจากนี้ ยังได้อาศัยความสัมพันธ์กับนักการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นในการผลักดัน
บุตรชายลงสู่สนามเลือกตั้งเพื่อขยายฐานการเมือง อิทธิพล และบารมีของตระกูลทิมสุวรรณเพิ่มมากขึ้น
โดยส่งบุตรชายคนโต คือ นายธนเทพ ทิมสุวรรณ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเลย ก่อนที่จะผลักดันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลาต่อมา และสานต่ออำานาจทางการเมือง
ในระดับท้องถิ่นด้วยการผลักดันบุตรชายคนเล็ก คือ นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ เป็นนายกองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเลย โดยการอาศัยเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ที่มีในระดับท้องถิ่น เช่น ผู้บริหารและสมาชิก
สภาท้องถิ่น กำานัน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นแรงสนับสนุน ทำาให้ตระกูลทิมสุวรรณกลายเป็นตระกูลที่มีอิทธิพล
ต่อการเมืองในจังหวัดเลยอย่างมาก
61 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2557 ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินชี้ขาดว่าเป็นโมฆะ ด้วยเหตุผลไม่มี
การจัดการเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้ง และไม่ได้เลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ พ.ร.ฎ.ยุบสภา
ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 กำาหนดให้เลือกตั้งวันดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 109 วรรค 2