Page 172 - kpiebook63028
P. 172

171








                             2.5   พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 5



                                ตารางที่ 47 พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 5



                             ชื่อ-สกุลผู้สมัคร         พรรคการเมือง       คะแนน        พฤติกรรมผู้ลงคะแนน
                   นายขวัญเลิศ  พานิชมาท                 อนาคตใหม่        43,284               สอง

                   นายพันธุ์ศักดิ์  เกตุวัตถา           พลังประชารัฐ      38,321           หนึ่ง และ สี่

                   นายฐนโรจน์  โรจนกุลเสฎฐ์             ประชาธิปัตย์       9,696               สาม

                   นายพงษ์วริษฐ์  วงศ์หนองแวง            เสรีรวมไทย        7,591               สอง
                   นางสาวชัญญาพรรณ  ศรีสุขจิรานนท์      เศรษฐกิจใหม่       4,346               สอง

                   นายเกษม  เหลืองอ่อน                    ภูมิใจไทย        1,722            สอง และ สี่

                   นายธนกร  ช่อดารา                       เพื่อชาติ        1,604               สอง






                          พฤติกรรมการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี เขต 5 ในภาพรวมเป็นไปแบบผสมผสาน
                  ที่เขต 5 มีลักษณะแตกต่างจาก เขต 1 2 3 และ 4 ตรงที่เขตนี้ไม่มีผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยลงแข่งขัน ผู้วิจัยพบว่า

                  พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเขต 5 ส่วนใหญ่เป็นสองแบบที่มีคะแนนเลือกตั้งใกล้เคียงกัน
                  คือ รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือก (Rational Choice)  และลงคะแนนตามแนวนโยบายหรือ

                  กระแสการเมืองในระดับประเทศ (Party Platform) โดยมีหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นหลัก (Party Hero)
                  กับรูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์

                  ทางการเมือง (Patron and Client System)


                          ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือกและลงคะแนนตามแนวนโยบายหรือกระแสการเมืองในระดับ
                  ประเทศ โดยมีหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นหลักเลือกและลงคะแนนให้พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย
                  พรรคเศษฐกิจใหม่  ซึ่งรวมกันมีคะแนนมากถึง 55,221 คะแนน ในขณะที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีลงคะแนนตาม

                  เครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง จะเลือกผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ

                  ซึ่งมีคะแนน 38,321 คะแนน

                          ผู้วิจัยเสนอว่า เขตเลือกตั้งที่ 5 มีลักษณะของความเป็นชุมชนเมือง (Urban Community)

                  สูงกว่า เขต 3 และ 4 ซึ่งความเป็นชุมชนเมืองนั้นเป็นผลดีกับพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากรูปแบบ หรือ Platform
                  การหาเสียงของพรรคอนาคตใหม่ เน้นการเข้าถึงกลุ่มคนในชุมชนเมืองที่มีระดับการใช้สื่อสังคมเข้มข้นมากกว่า

                  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตชนบท (Rural Community)  ที่สำาคัญ เขตเลือกตั้งที่ 5 เป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษา
                  ที่สำาคัญ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177