Page 174 - kpiebook63028
P. 174
173
พฤติกรรมการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี เขต 6 ในภาพรวม เป็นไปแบบผสมผสาน
คล้ายกับเขต 5 ในเขตเลือกตั้งที่ 6 นี้ ไม่มีผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยลงแข่งขัน ผู้วิจัยพบว่า พฤติกรรมการเลือกตั้ง
ของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเขต 6 มีรูปแบบผสมผสานระหว่าง ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนน รูปแบบตัดสินใจเลือก
ตามเหตุและผล (Rational Choice) ตามแนวนโยบายหรือกระแสการเมืองในระดับประเทศ (Party Platform)
โดยมีหัวหน้าพรรคการเมือง เป็นหลัก (Party Hero) กับ รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีลงคะแนนตาม
เครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง (Patron and Client System)
ผู้ลงคะแนนในเขต 6 แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม ชัดเจนจากการลงคะแนนให้พรรคอนาคตใหม่
พรรคเสรีรวมไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งรวมกันมีคะแนนมากถึง 55,221 คะแนน ในขณะที่ ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ที่มีลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง จะเลือกผู้สมัครจากพรรค
พลังประชารัฐ ซึ่งมีคะแนน 38,321 คะแนน
ผู้วิจัย เสนอว่า เขตเลือกตั้งที่ 6 มีลักษณะของความเป็นชุมชนเขตอุตสาหกรรม (Industrial Area)
ซึ่งส่งผลดีกับพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากรูปแบบหรือ Platform การหาเสียงของพรรคอนาคตใหม่ เน้นการเข้าถึง
กลุ่มคนในชุมนเมือง ชุมชนอุตสาหกรรม ที่มีระดับการใช้สื่อสังคมเข้มข้นมากกว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตชนบท
(Rural Community) ที่สำาคัญ เขตเลือกตั้งที่ 6 เป็นที่ตั้งของเขตนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่ง นายจรัส คุ้มไข่นำ้า
ผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ ได้เปรียบทางการเมืองในเขตนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากมีพื้นฐานจากการทำางาน
ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในนิคมอุตสาหกรรมในเขตเลือกตั้งที่ 6
ด้าน นายอิทธิพล คุณปลื้ม ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ใช้พฤติกรรมการหาเสียงแบบเดิมเป็นหลัก
คือ การสร้างเครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง กับชุมชนเมืองของกลุ่มบ้านใหญ่
ไม่มีประสิทธิภาพกับกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ที่มีอายุตำ่ากว่า 21 ปี รวมถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อพยพย้ายถิ่น
จากถิ่นอื่น เช่น กลุ่มพนักงาน กลุ่มแรงงาน
ความสำาเร็จของ นายจรัส คุ้มไข่นำ้า ผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกและ
สามารถชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 6 เหนือผู้สมัครที่มีประสบการณ์โดยเฉพาะ นายอิทธิพล คุณปลื้ม
ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ โดยพิจารณาจากคะแนนการเลือกตั้ง นายจรัสฯ ได้ 39,189 คะแนน ในขณะที่
นายอิทธิพลฯ ได้ 33,440 คะแนน โดย นายจรัสฯ ชนะเพียง 5,749 คะแนน ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากคะแนน
การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554 เมื่อใช้สมมติฐานที่ นายอิทธิพลฯ ใช้เครือข่ายทางการเมืองรูปแบบเดิม คะแนน
ของนายอิทธิพลฯ ใกล้เคียงกับฐานคะแนนของกลุ่มบ้านใหญ่ที่ได้รับในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา (ผู้สมัคร คือ
นางสุกุมล คุณปลื้ม พรรคพลังชล) คือ 36,463 คะแนน พบว่า คะแนนของ นายจรัสฯ มาจากการถ่ายโอนคะแนน
ของพรรคเพื่อไทย จำานวน 22,526 คะแนน (ผู้สมัครในคราว ปี พ.ศ.2554 คือ นางสาว นิชนันท์ วังคะฮาตธัญญกิจ)
พรรคประชาธิปัตย์ ที่คะแนนลดลงจำานวน 9,941 คะแนน จาก 16,523 คะแนน ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554
ลดลงเหลือ 6,582 คะแนน ในการเลือกตั้งครั้งนี้