Page 171 - kpiebook63028
P. 171

170      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี








                         2.4   พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 4



                            ตารางที่ 46 พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 4



                        ชื่อ-สกุลผู้สมัคร          พรรคการเมือง       คะแนน        พฤติกรรมผู้ลงคะแนน
              นายสรวุฒิ  เนื่องจำานงค์              พลังประชารัฐ      31,261           หนึ่ง และ สี่

              นายจิรวุฒิ  สิงห์โตทอง                  เพื่อไทย        21,021         หนึ่ง สอง และ สี่

              นายสมชาย  เนื่องจำานงค์                อนาคตใหม่        14,732              สอง

              นายพายุ  เนื่องจำานงค์                ประชาธิปัตย์      10,940              สาม
              นายภิญโญ  ตั๊นวิเศษ                    ภูมิใจไทย         9,426           สอง และ สี่

              นายคำานึง  ศรีพุ่ม                    เศรษฐกิจใหม่       1,933              สอง

              นายสุรชัย  ยอดใจเย็น                   เสรีรวมไทย        1,685              สอง






                      พฤติกรรมการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี เขต 4 ในภาพรวมเป็นไปแบบเขตเลือกตั้งที่
             1 2 และ 3 คือ เป็นแบบผสมผสาน ที่แตกต่างออกไปจากเขตเลือกตั้งอื่นในจังหวัดชลบุรี คือ เขตนี้เป็นการช่วงชิง

             ผู้นำาทางการเมืองของตระกูล เนื่องจำานงค์ และสิงห์โตทอง ผู้วิจัยพบว่า พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้
             สิทธิเลือกตั้งในเขต 4  ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมการเลือกตั้งเป็นแบบลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมือง

             หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองประกอบกับความนิยมในตัวผู้สมัครเป็นการส่วนตัวมากที่สุด สังเกต
             ได้จาก นายสรวุฒิ เนื่องจำานงค์ ที่ย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์ มาพรรคพลังประชารัฐ มีคะแนนนำาคู่แข่งอันดับ 2

             เพียงเล็กน้อย เพียงหมื่นคะแนนเศษ ๆ กล่าวคือ นายสรวุฒิฯ ได้คะแนน 31,261 คะแนน ในขณะที่
             นายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง ได้คะแนน 21,021 คะแนน ผู้ไปใช้สิทธิส่วนใหญ่เชื่อความเป็น เนื่องจำานงค์ และ

             สิงห์โตทอง มากกว่าความเป็นพรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย รองลงมา คือ รูปแบบที่
             ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือกและลงคะแนนตามแนวนโยบายหรือกระแสการเมืองในระดับประเทศ คือ

             กระแสความนิยมของพรรคอนาคตใหม่ และตัวนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค  เช่นเดียวกับ เขต 1 และ 2
             เพียงแต่คะแนนของพรรคอนาคตใหม่ในเขตนี้ ใกล้เคียงกับ เขต 3 คือ ผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ได้ไม่ถึง

             สองหมื่นคะแนน ในขณะที่รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือกและลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย
             พรรคเสรีรวมไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ ในเขต 4 เป็นที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ลงคะแนนตามอุดมการณ์

             ทางการเมือง ทั้งนี้เนื่องจากตัวผู้สมัครฯ ของพรรคเพื่อไทย ในเขต 2 ไม่มีเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ และไม่ได้
             มาจากตระกูลทางการเมืองที่มีต้นทุนทางการเมืองในจังหวัดชลบุรี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ลงคะแนนให้ ถึงแม้รู้ว่า

             ผู้สมัครคงไม่ชนะการเลือกตั้งก็ตาม
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176