Page 167 - kpiebook63028
P. 167
166 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี
วิเครำะห์พฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในจังหวัด
ชลบุรี
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรีครั้งนี้ สมารถสรุปพฤติกรรมการเลือกตั้งของ
ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ดังนี้
1. พฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มี 4 รูปแบบหลัก คือ
1.1 รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่มีลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดีกับ
ระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง (Patron and Client System)
1.2 รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือก (Rational Choice) และลงคะแนนตามแนว
นโยบายหรือกระแสการเมืองในระดับประเทศ (Party Platform) โดยมีหัวหน้าพรรคการเมือง
เป็นหลัก (Party Hero)
1.3 รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ลงคะแนนตามอุดมการณ์ทางการเมือง มีประวัติต่อสู้ทาง
การเมือง (Political Legacy) มากกว่าตัวหัวหน้าพรรคการเมือง
1.4 รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้กับตัวผู้สมัครที่ตนชื่นชอบ (Personnel
Identification)
2. พฤติกรรมการการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี ในภาพรวม ผสมผสานกันระหว่าง
4 รูปแบบ สามารถ สรุปพอสังเขป ดังนี้
2.1 พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ตารางที่ 43 พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชื่อ-สกุลผู้สมัคร พรรคการเมือง คะแนน พฤติกรรมผู้ลงคะแนน
นายสุชาติ ชมกลิ่น พลังประชารัฐ 38,268 หนึ่ง
นางสาวปิยะพร ธนาปิ่นชัย อนาคตใหม่ 27,430 สอง
นายจำาโนทย์ ปล้องอุดม เพื่อไทย 14,877 สาม
นายสรัลชา ศรีชลวัฒนา ประชาธิปัตย์ 8,362 สาม
นายบรรจบ รุ่งโรจน์ ภูมิใจไทย 8,266 สี่ และ สอง
นายเชวงศักดิ์ เอี่ยมสำาอางค์ เศรษฐกิจใหม่ 5,327 สอง
นายอัคระ เส็งกิ่ง เสรีรวมไทย 5,199 สอง