Page 170 - kpiebook63028
P. 170
169
2.3 พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 3
ตารางที่ 45 พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 3
ชื่อ-สกุลผู้สมัคร พรรคการเมือง คะแนน พฤติกรรมผู้ลงคะแนน
นายรณเทพ อนุวัฒน์ พลังประชารัฐ 54,644 หนึ่ง
นายภูวนารถ กาศสกุล อนาคตใหม่ 15,038 สอง
นายประมวล เอมเปีย ภูมิใจไทย 13,815 สี่ และ สอง
นางสาวรินทิรา วัฒนวงษ์ภิญโญ เพื่อไทย 10,025 สาม
นายไพฑูรย์ วชิรวงศ์ภิญโญ ประชาธิปัตย์ 5,458 สาม
นายลิขิต อัศวจารุวรรณ เสรีรวมไทย 2,422 สอง
พันตำารวจเอกหญิง ภัสพร บูรณะวงศ์ เศรษฐกิจใหม่ 1,623 สอง
พฤติกรรมการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี เขต 3 ในภาพรวม เป็นไปแบบเขตเลือกตั้ง
ที่ 1 และ 2 คือ เป็นแบบผสมผสานแต่ที่แตกต่างคือ พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส่วนใหญ่
มีพฤติกรรมการเลือกตั้งเป็นแบบลงคะแนนตามเครือข่ายทางการเมือง หรือจงรักภักดีกับระบบอุปถัมภ์ทาง
การเมืองมากที่สุด เข้มข้นกว่า เขต 1 และ 2 สังเกตได้จาก นายรณเทพฯ ที่มาจากเครือข่ายกลุ่มบ้านใหญ่
มีคะแนนนำาคู่แข่งอันดับ 2 อย่างมาก คือ มากถึงเกือบสี่หมื่นคะแนน ซึ่งถือเป็นการชนะขาดลอย แสดงว่า
ผู้ซึ่งผู้ไปใช้สิทธิส่วนใหญ่เชื่อความเป็นกลุ่มบ้านใหญ่ มากกว่าความเป็นพรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์
พรรคเพื่อไทย รองลงมาคือ รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือกและลงคะแนนตามแนวนโยบายหรือ
กระแสการเมืองในระดับประเทศคือ กระแสความนิยมของพรรคอนาคตใหม่ และตัวนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
หัวหน้าพรรค เช่นเดียวกับ เขต 1 และ 2 เพียงแต่คะแนนของพรรคอนาคตใหม่ในเขตนี้ ไม่ถึงสองหมื่นคะแนน
เช่น ใน เขต 1 และ 2 ในขณะที่ รูปแบบที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ตัดสินใจเลือกและลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย
พรรคเสีรรวมไทย พรรคเศษฐกิจใหม่ ในเขต 3 เป็นที่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ลงคะแนนตามอุดมการณ์ทาง
การเมือง ทั้งนี้เนื่องจากตัวผู้สมัครฯ ของพรรคเพื่อไทยในเขต 2 ไม่มีเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ และไม่ได้มาจาก
ตระกูลทางการเมืองที่มีต้นทุนทางการเมืองในจังหวัดชลบุรี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ลงคะแนนให้ ถึงแม้รู้ว่าผู้สมัคร
คงไม่ชนะการเลือกตั้งก็ตาม