Page 81 - kpiebook63019
P. 81

76






                     การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการประเมินการดำเนินงานของ

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติในฐานะรัฐสภาไทยในช่วงที่ผ่านมา จะใช้แนวทางตามกรอบของ IPU ซึ่งมีขั้นตอน
               การดำเนินการ ดังนี้


               3.1 ระเบียบวิธีวิจัย


                     เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)

               ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research)  การจัดประชุมกลุ่มย่อย  (Focus Group)  และ
               การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ (in-depth interview)


                     1. การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยเป็นการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
               ทั้งจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ และข้อมูลจากสื่อออนไลน์


                     2. ประชุมกลุ่มย่อย โดยใช้รูปแบบสภากาแฟ (World Café) จำนวน 3 กลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มย่อยเป็น
               3 กลุ่ม ตามประเด็นในการประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาไทย ดังนี้
               
           ๏ การเป็นตัวแทนของประชาชน และการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ

               
           ๏ ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา และความสำนึกรับผิดชอบของรัฐสภา
               
           ๏ การตรวจสอบฝ่ายบริหาร และการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ


                       โดยจัดเวทีตามภูมิภาคต่าง ๆ 4 ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ
               ภาคใต้) ช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน 2562


                     3.  การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเป็นการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ช่วงเดือน
               กุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2562 ประกอบด้วย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               อดีตสมาชิกวุฒิสภา นักวิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน องค์กรอิสระ ผู้บริหาร หรืออดีตผู้บริหารวุฒิสภา

               อดีตผู้บริหารสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น


               3.2 การประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

                      ด้วยแบบสอบถาม


                     สำหรับการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขั้นตอนนี้ คณะผู้วิจัยได้ปรับปรุง
               เครื่องมือวิจัยจากแบบสอบถามในงานวิจัย เรื่อง สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย: ศึกษากรณี

                                                                              53
               การดำเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา (IPU)  โดยได้ตัดข้อคำถามที่เกี่ยวกับ
               พรรคการเมืองออก รวมทั้ง ได้ลดทอนข้อคำถามที่มีการแยกสอบถามระหว่างการดำเนินงานของ


               
     53   สถาบันประปกเกล้า, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย: ศึกษากรณีการดำเนินงาน
               ของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU), กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2555.








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86