Page 77 - kpiebook63019
P. 77
72
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่คณะกรรมาธิการสามัญ
ประจำสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงวันที่ 12 กันยายน 2557 และระเบียบรัฐสภา ว่าด้วยการแต่งตั้งบุคคล
เพื่อปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ และกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 กำหนดเกณฑ์การมีผู้สนับสนุนงานของ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ ดังนี้
2.5.6.1 บุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สามารถมีทีมงานประจำตัวได้ 5 ตำแหน่งดังนี้
(1) ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 1 อัตรา มีหน้าที่
และความรับผิดชอบในการให้คำแนะนำปรึกษาทางด้านวิชาการที่เป็นประโยชน์ให้กับสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ โดยมีค่าตอบแทน เดือนละ 24,000 บาท
(2) ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 1 อัตรา มีหน้าที่
(1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบการดำเนินงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(2) ศึกษาสภาพปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ เพื่อรวบรวม จัดทำญัตติ กระทู้ถาม ข้อหารือ หรือข้อเสนอแนะ
อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีค่าตอบแทน เดือนละ 20,000 บาท
(3) ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 3 อัตรา มีหน้าที่
ความรับผิดชอบตามที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติกำหนด โดยมีค่าตอบแทนเดือนละ 15,000 บาท
2.5.6.2 คณะทำงานทางการเมือง
คณะทำงานทางการเมือง ประกอบด้วย ที่ปรึกษา นักวิชาการ และเลขานุการ
เพื่อทำหน้าที่ตามความประสงค์ของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
ที่ปรึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้คำปรึกษาแก่ประธานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นักวิชาการและเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่ประธานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติกำหนด
โดยจำนวนคณะทำงานทางการเมือง ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็น
ผู้กำหนด โดยคำนึงถึงงบประมาณสำหรับปีงบประมาณนั้น ๆ
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)