Page 554 - kpiebook63010
P. 554
553
ระหว่างการเอาหรือไม่เอาการสืบทอดอ�านาจ และความขัดแย้งระหว่างอัตลักษณ์ทางการเมืองเก่าและใหม่ด้วย)
การเลือกตั้งที่จัดขึ้นในระบอบของคณะรัฐประหารครั้งนี้ซึ่งอยู่ในบริบทความขัดแย้งหลายมิติได้ถูกตั้งค�าถาม
เรื่องความซื่อตรง และผลกระทบต่อการเมืองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่าเป็นกระบวนการที่เป็นกลางหรือ
เป็นกระบวนการที่สนับสนุนฝ่ายใดในความขัดแย้ง
และสุดท้ายตัวการเลือกตั้งเองมีผลท้าทายไปที่ความชอบธรรมของหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้ง ตั้งแต่ 1) ความชอบธรรมของผู้ที่มีส่วนในการจัดการเลือกตั้งคือ กกต. ซึ่งถูกเคลือบแคลงสงสัย
2) ความชอบธรรมของกระบวนการเลือกตั้ง โดยพิจารณาจากวงจรการเลือกตั้งที่มีปัญหาต่าง ๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
ไปจนถึง 3) ความชอบธรรมของผลการเลือกตั้ง ซึ่งท้าทายความชอบธรรมของรัฐบาลหรือผู้น�าประเทศว่า
การเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนความนิยมในตัวพลเอกประยุทธ์และคณะรัฐประหารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในกรณี
ของกรุงเทพมหานครนั้นแสดงให้เห็นแล้วว่า เจตจ�านงในการไม่เอาพลเอกประยุทธ์นั้นมีมากกว่าเจตจ�านง
ของการยอมรับอ�านาจของพลเอกประยุทธ์ แต่ความขัดแย้งในมิติอื่นก็ยังคุกรุ่นอยู่ในสังคมไทย ไม่นับว่า
ตัวพลเอกประยุทธ์และพรรคพลังประชารัฐยังอยู่ในอ�านาจต่อไปภายหลังจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562
สิ้นสุดลง
การเลือกตั้งทั่วไปของประเทศไทยในรอบนี้ท�าให้ระบอบการเมืองที่มีที่มาจากการท�ารัฐประหารใน
ระดับประเทศนั้นอยู่ต่อได้ ด้วยการแปรรูป-เปลี่ยนร่างจากการเลือกตั้งและการเจรจาต่อรองกับพรรคระดับกลาง
อย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย และน�าเอาพรรคเล็ก ๆ ที่คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์รอบแรกของ
บัญชีรายชื่อมาร่วมได้ผ่านสูตรการนับคะแนนที่เป็นที่รับรู้ทั่วไปหลังการเลือกตั้ง ทั้งที่ในกรุงเทพมหานครนั้น
พรรคที่สนับสนุนระบอบรัฐประหาร และพรรคที่ยืนคนละฝ่ายกับทักษิณนั้นไม่สามารถที่จะก�าชัยชนะเหนือ
จากฝ่ายประชาธิปไตยที่กลายเป็นฝ่ายค้านในการเมืองระดับชาติได้ การสืบสานอ�านาจที่เกิดขึ้นในรอบนี้ของ
ระบอบรัฐประหารจึงเกิดขึ้นจากการปรับกติกา (ซึ่งก็ยังไม่ได้เกิดหลักประกันของชัยชนะ) ควบคู่กับการเจรจา
ต่อรองกับพรรคการเมืองขนาดกลาง 2 พรรค และการเกิดขึ้นของพรรคเล็กพรรคน้อยเสียมากกว่า
นอกจากนี้แล้ว ความพยายามของการร่างกฎกติกาใหม่ของระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนแบบ
ผสม ภายใต้ค�าอธิบายว่ากติกาเดิมนั้นไม่เป็นธรรมแก่พรรคที่แพ้แต่ยังมีคะแนน “เสียงตกน�้า” หรือ เสียงทุกเสียง
ต้องมีความหมาย อาจจะสร้างความเป็นธรรมได้ในระดับชาติ แต่ในระดับท้องถิ่นแล้ว ผลการเลือกตั้งที่คะแนน
เสียงของพรรคอนาคตใหม่ในกรุงเทพมหานครนั้นมีมากกว่าพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย แต่พรรค
อนาคตใหม่ได้เสียงที่นั่งน้อยกว่าพลังประชารัฐถึง 3 เขต และได้เท่ากับพรรคเพื่อไทย รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์
นั้นมีคะแนนร้อยละ 14.59 ก็ไม่ได้มีตัวแทนในเขตกรุงเทพมหานครเลย อาจตีความได้ว่าระบบการเลือกตั้ง
ใหม่นั้นก็ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของผลคะแนนในระดับจังหวัด ทั้งที่ปัญหาของจังหวัดมีผลเชื่อมโยงกับการ
ท�าความเข้าใจปัญหาการเมืองระดับชาติ นอกจากนี้ การร้องเรียนของนักการเมืองเดิม และการไม่มีค�าอธิบาย
เรื่องการปรับเปลี่ยนเขตเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปตามปริมาณของประชากรโดยไม่ได้สัมพันธ์กับการเชื่อมโยงของย่าน
และรูปแบบการบริหารท้องถิ่นที่เป็นอยู่ไม่อาจเป็นหลักประกันว่าการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนจะเชื่อมโยง
กับความสัมพันธ์ที่มีกับชุมชนที่ด�ารงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชุมชนหรือบ้านมีรั้วเดิม และความเป็นย่านและเขต