Page 555 - kpiebook63010
P. 555
554 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
5.2 ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
ในเขตกรุงเทพมหานคร: คุณูปการทางทฤษฎี
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อ
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมานี้ ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาการเลือกตั้งในเขตมหานครนั้นจ�าต้องศึกษาเรื่องราว
มากมายที่เกี่ยวข้องกับพลวัตรในพื้นที่ ทั้งพลวัตรทางด้านกายภาพที่เกิดความเปลี่ยนแปลงของชุมชน และพลวัตร
ทางการเมืองในพื้นที่ที่นักการเมืองและพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้ต่อสู้กันอย่างเข้มข้นเพื่อท้าทายโครงสร้าง
ทางการเมืองและบรรยากาศทางการเมืองของการพยายามสร้างข้อได้เปรียบของระบอบรัฐประหาร
ชัยชนะในเขตต่าง ๆ ของฝ่ายที่ต่อต้านระบอบรัฐประหารนั้นไม่ได้หมายความว่าฝ่ายผู้ถือครองอ�านาจ
นั้นไม่มีความสามารถในการครองและสืบสานอ�านาจ แต่ชี้ให้เห็นความสามารถของพรรคและนักการเมือง
ในระดับพื้นที่ที่พยายามสร้างโอกาสและความเป็นไปได้ในการรักษาฐานคะแนนเก่าและเข้าถึงประชาชน แม้ว่า
ในบางครั้งพวกเขาอาจจะมีพื้นที่ที่ทับซ้อนกันในแง่ของจุดยืนในการต่อต้านระบอบการเมืองที่เป็นอยู่ ส่วน
นักการเมืองในระดับท้องถิ่นที่เข้าร่วมกับฝ่ายสืบสานอ�านาจก็อาจไม่ได้เป็นไปด้วยอุดมการณ์ที่ยืนข้างฝ่าย
รัฐประหารอย่างเต็มตัว แต่อาจจะเพราะขาดแคลนโอกาสจากพรรคการเมืองเดิมในการเข้าสู่สนามการเลือกตั้ง
ก็อาจเป็นได้
ในการท�าความเข้าใจในระดับทฤษฎี จะพบว่าการอธิบายความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรม
การเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เพียงวิเคราะห์ว่าผลการลงคะแนนนั้นเกิดจากการตัดสินใจเลือกของ
ปัจเจกบุคคล โดยอาจดูทัศนคติต่อการเมืองและการเลือกตั้ง หรือความรู้ความใจในการเมืองของปัจเจกบุคคล
และตัวแปรทางประชากร ตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคมของปัจเจกบุคคล หรือเพราะเป็นผลมาจากรอยแยก
ทางสังคมที่ส่งผลโดยตรงกับการลงคะแนน ท�าให้ไม่เข้าใจปฏิสัมพันธ์ของ รอยแยกทางสังคมที่ซับซ้อนหลายมิติ
โครงสร้างทางกฎหมายที่สร้างความได้เปรียบกับระบอบการเมืองที่ครองอ�านาจ ความพยายามดิ้นรนในการ
ค้นหายุทธศาสตร์และยุทธวิธี(รวมทั้งการใช้สื่อ)ในการรณรงค์การเลือกตั้งและต่อรองกับระบบการบริหารจัดการ
เลือกตั้งที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่ย่อย (ชุมชน ระบบอุปถัมภ์ และ
บ้านมีรั้ว) และการตัดสินใจของประชาชนผู้ลงคะแนนท่ามกลางการคิดค�านวณจากหลายตัวแบบ ภายใต้เงื่อนไข
และบริบททางการเมืองท่ี่พลิกผันตลอดเวลาในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง
การศึกษารายละเอียดของความพลิกผันและชัยชนะในการเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้นจึงมีเสน่ห์และ
สร้างความท้าทายในการเข้าใจพลวัตรของการเมืองในระดับชาติในพื้นที่มหานครอย่างกรุงเทพมหานครมากขึ้น
และหวังว่าการศึกษาในครั้งนี้จะจุดประกายให้เกิดความสนใจในการศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและ
พฤติกรรมการเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครที่มีมิติที่ละเอียดและซับซ้อนขึ้น และสามารถน�าไปใช้ในการศึกษา
ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป