Page 553 - kpiebook63010
P. 553
552 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
ดังนั้น ในการเลือกตั้งในรอบนี้จะพบว่า แม้ว่าทางฝ่ายผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจะกระอักกระอ่วนใจ
ในการฟันธงว่าการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครนั้น “เสรีและเป็นธรรมหรือไม่” และพบว่าแม้จะเสรีอยู่บ้างแต่ไม่
เป็นธรรม แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้ก็มีปัญหาในเรื่องความซื่อตรงและเป็นการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง
อันเนื่องมาจากการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในระบอบของคณะรัฐประหารซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์
ว่าเป็นความพยายามสืบทอดอ�านาจ ท�าให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีปัญหาเรื่องความซื่อตรง โดยวงจรการเลือกตั้ง
มีปัญหาหรือถูกตั้งค�าถาม ตั้งแต่ช่วงต้นวงจรยันสุดวงจร ตามกรอบการพิจารณาการเลือกตั้งที่ซื่อตรงและการ
เลือกตั้งที่เต้มไปด้วยความขัดแย้ง กล่าวคือ
• การก�าหนดกติกาที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เริ่มตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญที่น�าระบบเลือกตั้งและการคิด
ที่นั่ง ส.ส. ของพรรคการเมืองแบบใหม่เข้ามาใช้ และกฎหมายพรรคการเมืองที่ถูกเปลี่ยนแปลง
แก้ไขโดยค�าสั่งหัวหน้า คสช. หลายครั้ง
• การออกแบบเขตเลือกตั้งใหม่ซึ่งมีผลต่อฐานเสียงเดิมของนักการเมืองและต�าแหน่งแห่งที่ของ
ชุมชนในเขตเลือกตั้งได้เปลี่ยนไปจากเดิม
• การลงทะเบียนพรรคการเมืองก็มีค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ช่วยเอื้ออ�านวยการออกตัวของผู้ที่จะตั้ง
พรรคใหม่ ส่วนพรรคการเมืองเก่าต้องมีการยืนยันสมาชิกในระยะเวลาจ�ากัด และการประชุมใหญ่
ของพรรคเก่าเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและต�าแหน่งอื่นต้องรอออกไปก่อน ตามที่ทบทวนในบทที่ 2
และ 4
• การรณรงค์หาเสียงในสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งครั้งนี้มีการออกระเบียบสร้างอุปสรรค
แก่การใช้สื่อออนไลน์หาเสียง
• การจัดการด้านการเงินของพรรคและผู้สมัคร ทั้งในฝ่ายของผู้ออกระเบียบที่จ�ากัดการใช้เงิน และ
ในฝ่ายของผู้ใช้เงินที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการซื้อเสียง
• การนับและรวมคะแนน ที่มีปัญหาเรื่องความถูกต้องและความตรงกันของการนับและรวมผล ซึ่ง
อาจเป็นความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
• ผลการเลือกตั้ง ที่ต่อเนื่องมาจากการนับและรวมคะแนนที่เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย ไปจนถึงเรื่อง
ระยะเวลาในการประกาศผลที่ช้า
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าปัญหาความซื่อตรงของการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้อยู่แค่ที่เรื่องซื้อสิทธิขายเสียง (ซึ่ง
เป็นเรื่องที่มีตัวเกี่ยวข้องหลักอย่างแคบ ๆ เพียงแค่นักการเมืองและประชาชน) แต่เป็นความไม่ชอบมาพากลของ
การจัดการเลือกตั้งทั้งวงจร
ต่อเนื่องจากปัญหาเรื่องความไม่ซื่อตรงของการเลือกตั้งก็คือ การเป็นการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยความ
ขัดแย้ง (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งหลายมิติในสังคมไทยตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างสีเสื้อ ความขัดแย้ง