Page 552 - kpiebook63010
P. 552

551








                          ในตารางแรกเป็นการแบ่งคะแนนเสียงของพรรคการเมืองในกรุงเทพมหานครเป็น 2 ฝั่ง ระหว่าง

                  พรรคฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน จะเห็นได้ว่า คะแนนเสียงของพรรคฝ่ายค้านในกรุงเทพมหานครรวมกัน
                  แล้ว (1,684,519 คะแนน) ก็ยังมีมากกว่าคะแนนเสียงรวมกันของพรรคฝ่ายรัฐบาล (1,406,039 คะแนน) อยู่

                  278,480 คะแนน และหากดูรายเขตจะพบว่าคะแนนเสียงของพรรคฝ่ายค้านมีมากกว่าคะแนนเสียงของพรรค
                  ฝ่ายรัฐบาลเกือบทุกเขตเลือกตั้ง ยกเว้นเขตที่ 1 พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดุสิต (ยกเว้น   แขวง

                  ถนนนครไชยศรี) เขตที่ 2 ปทุมวัน บางรัก สาธร เขตที่ 3 บางคอแหลม ยานนาวา เขตที่ 4 คลองเตย วัฒนา และ
                  เขตที่ 22 คลองสาน บางกอกใหญ่ ธนบุรี (ยกเว้นแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงส�าเหร่)


                          และหากดูในตารางหลัง ถ้าน�าคะแนนของพรรคที่ไม่ได้แสดงท่าทีในการสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ใน

                  ช่วงหาเสียง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย มารวมกับคะแนนเสียงของพรรคฝ่ายค้านด้วย จะ
                  พบว่ามีคะแนนมากกว่าทุกเขต โดยให้ลองพิจารณาว่า พรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยในตอนรณรงค์หา

                  เสียงเลือกตั้ง ไม่ได้แสดงท่าทีในการสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี

                          กรณีของพรรคประชาธิปัตย์นั้นชัดเจนจากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ได้ออกมาแสดง

                  จุดยืนว่าไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างแน่นอน (ข่าวสด, 2562ก) ส่วนพรรคภูมิใจไทยนั้น

                  นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค มีจุดยืนสนับสนุนนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกของ ส.ส. และเห็นว่า ส.ว.
                  ไม่ควรมาเลือกนายกรัฐมนตรี (มติชนออนไลน์, 2562ข) ตามค�าพูดของอนุทินเองที่ว่า “ผมจะไม่ยอมรับให้คน
                  250 คนที่ไม่ได้มาจากพี่น้องประชาชนมาเลือกนายกรัฐมนตรีของผม ให้เป็นส่วนประกอบได้ แต่ไม่ใช่เป็นคนที่

                  ตัดสินว่าถ้าไม่มีกลุ่มนี้ คนไหนก็เป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้…” (อนุทิน ชาญวีรกูล, 2562ข)


                          นอกจากนี้ พรรคทั้งสองไม่ได้แสดงท่าทีเต็มใจอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมกับระบอบของคณะรัฐประหาร

                  มาก่อนตั้งแต่แรก และเมื่อตัดสินใจเข้าร่วมก็เผชิญกับแรงเสียดทาน กรณีของพรรคประชาธิปัตย์ดูได้จากมติของ
                  พรรคในการเข้าร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐซึ่งมติไม่ได้เป็นเอกฉันท์ (ไทยรัฐออนไลน์, 2562จ) และลงเอย
                  ด้วยการประกาศลาออกจากการเป็น ส.ส. ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากพรรคมีมติเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรค

                  พลังประชารัฐ (ไทยรัฐออนไลน์, 2562ข) ส่วนพรรคภูมิใจไทยร่วมมือกับพรรคพลังประชารัฐเพราะทางพรรคมี

                  เงื่อนไขต้องการเข้าร่วมกับฝ่ายที่มีเสถียรภาพ และผลักดันนโยบายที่ให้ไว้กับประชาชน (โดยถ้าพรรคประชาธิปัตย์
                  ไม่ร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทยเองก็จะไม่ร่วมด้วย เพราะถือว่าไม่มีเสถียรภาพ) ซึ่งการตัดสินใจร่วม
                  มือกับพรรคพลังประชารัฐก็ท�าให้พรรคภูมิใจไทยเผชิญกระแสถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้วย (ส�านักข่าวอิศรา, 2562ข)


                          ข้อสรุปอีกประการหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครในรอบนี้นั้นส่วนส�าคัญเป็นการแสดง

                  เจตจ�านงในการไม่เอาพลเอกประยุทธ์และต้องการน�าเสนอทางออกของประเทศที่ดีกว่า ทางออกที่การปกครอง
                  โดยคณะรัฐประหารน�าเสนอและปฏิบัติมาตลอดเวลา 5 ปี แม้ว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยจะ

                  ไม่ได้มีท่าทีในการต่อต้านการท�ารัฐประหารอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับพรรคการเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง (อย่างไรก็ดี
                  พรรคภูมิใจไทยไม่ได้มีคะแนนเสียงในกรุงเทพมหานครมากนัก การน�าคะแนนของพรรคนี้มาค�านวนรวมกับ

                  ฝ่ายต่อต้านระบอบของคณะรัฐประหารก็เพียงเพื่อให้เห็นเจตจ�านงของคนจ�านวนมากในกรุงเทพมหานครที่ไม่
                  เลือกพลเอกประยุทธ์)
   547   548   549   550   551   552   553   554   555   556   557