Page 472 - kpiebook63010
P. 472

471







                          4.3.3.1 การได้เปรียบของพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้ง


                          แบ่งออกเป็นสามด้านการได้เปรียบในเชิงจุดยืนทางการเมือง การได้เปรียบเชิงโครงสร้างระบบการเมือง

                  และ การได้เปรียบเชิงนโยบาย


                          ก. การได้เปรียบในเชิงจุดยืนทางการเมือง:  เป็นที่รับรู้กันว่า พรรคพลังประชารัฐ มีความเชื่อมโยง
                  อย่างแนบแน่นกับระบอบรัฐประหารที่ปกครองมาตลอด 5 ปี โดยเฉพาะเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า

                  คณะรัฐประหาร (คสช.) และนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ซึ่ง จัดตั้งโดย คสช.
                  ที่มีพลเอกประยุทธ์เป็นหัวหน้า) ตอบรับเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และมีป้ายหาเสียงที่มีรูปพลเอกประยุทธ์

                  ในทุกเขตเลือกตั้ง แม้ว่าตามกฎหมายจะห้ามพลเอกประยุทธ์ขึ้นปราศรัยและหาเสียง เนื่องด้วยไม่ใช่สมาชิกพรรค


                          นอกจากความเชื่อมโยงของพลเอกประยุทธ์กับพรรคพลังประชารัฐจะมีความแนบแน่นในแง่ของ
                  การเป็นแคนดิเดตนายกมนตรีเพียงคนเดียวของพรรค สิ่งที่สร้างความได้เปรียบให้กับพรรคพลังประชารัฐ
                  ในการเลือกตั้งครั้งนี้ในประการแรกก็คือ ความได้เปรียบในแง่จุดยืนทางการเมืองท่ามกลางทางเลือกทางการเมือง

                  ระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย และ พรรคอนาคตใหม่


                          ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในช่วงการวิเคราะห์ความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์ว่าส่วนหนึ่งเกิดจาก
                  ยุทธศาสตร์ในการน�าเสนอทางเลือกของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค โดยการไม่เอาการสืบทอดอ�านาจ

                  (ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ และ ไม่เอา คสช. ซึ่งในรอบที่แล้วพรรคประชาธิปัตย์ก็ประกาศ
                  ไม่รับรองร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็แพ้ไป และเกิดความแตกแยกในความเห็นภายในพรรค) และ ไม่เอาการทุจริต

                  ซึ่งหมายถึงการไม่เอาระบอบทักษิณ ซึ่งเป็นข้อความหลักของพรรคมาโดยตลอดตั้งแต่การเป็นพรรคฝ่ายค้าน
                  เรื่อยมาจนบางส่วนที่เข้าร่วมพันธมิตรฯ และ การที่สมาชิกชิกหลายคนกลายเป็นแกนน�า กปปส.) นอกจากนั้น

                  ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงความเกี่ยวเนื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในการเลือกตั้ง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562
                  ที่มีทั้งส่วนที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้สนับสนุนเก่าของ พ.ต.ท.ทักษิณ และสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน

                  อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับพรรคเพื่อไทยและบทบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อเห็นความใกล้ชิดระหว่าง
                  พ.ต.ท.ทักษิณและเครือข่ายกับ “สมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์” (ข่าวสด, 2562ด)


                          ในขณะที่พรรคการเมืองใหม่อีกพรรคหนึ่งอย่างพรรคอนาคตใหม่ มีจุดยืนที่ชัดเจนในการไม่เอาระบอบ

                  รัฐประหาร น�าเสนอการปฏิรูปกองทัพ ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ และยังเสนอตัวเป็นทางเลือกใหม่ทั้งกับคนรุ่นใหม่
                  และคนที่ต้องการก้าวพ้นไปจากความขัดแย้งที่มีอยู่เดิมคือ ความขัดแย้งเชิงสีเสื้อ หากแต่ความนิยมของ

                  พรรคอนาคตใหม่นั้นกลับสร้างกระแสกดดันไปยังพรรคใหญ่ทุกพรรค โดยเฉพาะพรรคใหญ่อย่างประชาธิปัตย์
                  ในแง่ของการช่วงชิงฐานเสียงคนรุ่นใหม่ เพื่อไทยในแง่ของการชิงฐานเสียงฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้า

                  และการต่อต้านรัฐประหาร และพลังประชารัฐในแง่ของการต่อต้านรัฐประหาร ทั้งหมดนี้ท�าให้อนาคตใหม่นั้น
                  ทั้งได้รับความนิยมและถูกต่อต้านอย่างรุนแรง
   467   468   469   470   471   472   473   474   475   476   477