Page 469 - kpiebook63010
P. 469
468 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
4.3.3 พรรคพลังประชารัฐในฐานะผู้ได้เปรียบจากระบอบการเมืองและระบบเลือกตั้งใหม่
พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่จดจองชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่
2 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดย ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน�้าคลองลัดมะยม และพันเอก สุชาติ
จันทรโชติกุล อดีต ส.ส. สงขลา พรรคความหวังใหม่ และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
(ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก คสช.) แม้ว่าชื่อพรรค “พลังประชารัฐ” จะเป็นชื่อนโยบายช่วยเหลือคนยากจน
ที่ส�าคัญของรัฐบาลประยุทธ์ แต่นายชวน ก็ปฏิเสธถึงความเชื่อมโยงและความเป็นนอมินีของพรรคพลังประชารัฐ
ทั้งที่มีการพยายามสืบค้นสายสัมพันธ์ระหว่างนายชวนกับเครือข่ายของ คสช. (มติชนออนไลน์, 2561ข)
ในระยะต่อมา การขับเคลื่อนพรรคจริง ๆ จึงเกิดขึ้นจากเครือข่ายส�าคัญสี่กลุ่ม กลุ่มแรกคือ
กลุ่มนักการเมืองเก่า อาทิ กลุ่มสามมิตร ซึ่งมีแกนน�าเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งมีความสนิทสนมกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ซึ่งยังด�ารงต�าแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
ในรัฐบาลของ คสช.อยู่ โดยกลุ่มสามมิตรพยายามดึงตัวอดีตนักการเมืองจากทุกพรรคเข้าร่วมทั้งที่ยังอยู่ในช่วง
มีการห้ามการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคการเมืองต่าง ๆ นับตั้งแต่การท�ารัฐประหาร พ.ศ. 2557 นอกจากนี้
ยังมีกลุ่มนักการเมืองจากพลังชล จากภูมิภาคตะวันออก ซึ่งเข้าไปมีบทบาทในรัฐบาลมาก่อนนั้นแล้ว อาทิ
นายสนทยา คุณปลื้ม นอกจากนั้น ก็ยังมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม (ประชาชาติธุรกิจ, 2562ง) และยังรวมไปถึง
อดีตสมาชิก นปช. อย่างนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
กลุ่มที่สองคือ กลุ่มเครือข่ายนักวิชาการ และ ขุนนางนักวิชาการ โดยเฉพาะที่มีความเชื่อมโยงกับ
นายสมคิด และเข้ามามีบทบาทในฐานะรัฐมนตรีขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับนายสมคิด ตั้งแต่เมื่อนายสมคิด
รับต�าแหน่งทางเศรษฐกิจให้กับ คสช. ไม่ว่าจะเป็น นายอุตตม สาวนายน นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ และนายกอบศักดิ์
ภูตระกูล นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงเครือข่ายของนายสมคิดที่กล่าวถึงไปแล้วกับนักวิชาการในสถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อาทิ ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ได้รับการชักชวนเข้าร่วมพรรค
จากนายอุตตม สาวนายน (วิกิพีเดีย, 2562) (ประชาชาติธุรกิจ, 2561) และ (INN news, 2561)
กลุ่มที่สาม คือ กลุ่ม กปปส. ที่น�าโดย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ และ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นอดีต 2 ใน 4 ทหารเสือ (อดีตแกนน�า กปปส.) นายณัฏฐพลเป็นสามี
ของนางทยา ทีปสุวรรณ แกนน�า กปปส.และนักธุรกิจด้านการศึกษารายใหญ่ นายพุทธิพงษ์ได้รับการแต่งตั้ง
ให้เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองของรัฐบาล คสช.ตั้งแต่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่ง “ทหารเสือ” ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มนี้คือ นายสกลธี ภัททิยกุล อดีต ส.ส.กทม.ปชป.
และแกนน�า กปปส. ที่ถึงแม้จะไม่ได้มีต�าแหน่งภายใน พปชร. (แต่ได้ไปร่วมเป็นสมาชิก-เปิดตัวพรรคที่เมืองทอง
ธานี และเข้าร่วมเปิดสาขาพรรคที่หลักสี่) นายสกลธีได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อ 11
เมษายน พ.ศ. 2561 ในสมัยของ พลต�ารวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ที่ได้รับแต่งตั้งจาก คสช. ให้เป็นผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร แทน มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ถูกปลด เมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (โพสต์ทูเดย์, 2561)