Page 476 - kpiebook63010
P. 476
475
ถ้าว่ากันตามตามค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 ข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่จะตั้งพรรคพลังประชารัฐ
สามารถด�าเนินธุรการในเรื่องที่ก�าหนด อีกทั้งประชุมเลือกหัวหน้าพรรคและผู้ท�าหน้าที่อื่น ๆ ได้ตั้งแต่
วันที่ 1 มีนาคม ขณะที่พรรคการเมืองที่มีอยู่เดิมกว่าจะด�าเนินธุรการในเรื่องจัดให้มีทุนประเดิม 1 ล้านบาท
และเรื่องอื่น ๆ ให้ลุล่วงได้ ก็ต้องด�าเนินการภายในระยะเวลา 180 วันนับแต่วันที่ 1 เมษายน ส่วนการจัด
ประชุมใหญ่เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและผู้ท�าหน้าที่อื่น ๆ ก็ต้องรอการยกเลิกประกาศ คสช. ฉบับที่ 57/2557
และค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558
(ในภายหลังมีการออกค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 สั่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561 (มีผล
ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งก็คือวันเดียวกัน) โดยออกมาเพื่อแก้ไข พ.ร.ป. พรรคการเมืองที่
เคยถูกค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 แก้ไขไปแล้วครั้งหนึ่ง โดยค�าสั่งนี้เปลี่ยนกรอบระยะเวลาในการด�าเนินการ
เรื่องต่าง ๆ ของพรรคการเมืองเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยให้พรรคการเมืองเดิมด�าเนินการในเรื่องและภายในระยะเวลา
ดังนี้ 1) จัดให้มีทุนประเดิม 1 ล้านบาท และแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายใน 180 วันนับแต่วันที่ค�าสั่งหัวหน้า
คสช. ที่ 13/2561 มีผลใช้บังคับ 2) จัดให้สมาชิกไม่น้อยกว่า 500 คนช�าระค่าบ�ารุงพรรคส�าหรับปี 2561 ภายใน
180 วันนับแต่วันที่ค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 มีผลใช้บังคับ และแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมหลักฐาน
แสดงการช�าระภายใน 15 วันนับแต่วันพ้นช�าระ และ 3) จัดให้สมาชิกช�าระเงินค่าบ�ารุงพรรคให้ได้ไม่น้อยกว่า
5,000 คนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 มีผลใช้บังคับ และให้ได้ไม่น้อยกว่า 10,000 คน
ภายใน 4 ปีนับแต่วันที่ค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 มีผลใช้บังคับ และแจ้งให้นายทะเบียนทราบ)
ประการที่สี่ ในทางการเมือง พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคของรัฐบาลที่ด�ารงต�าแหน่งอยู่ โดยพฤตินัย
(de facto incumbent governmental party) ดังนั้นย่อมจะได้เปรียบจากการแข่งขันทางการเมือง ในกรณีนี้
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 44 ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2560 มาตรา 265 ได้เปิดโอกาสให้รัฐบาลของ คสช. มีอ�านาจเต็มในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งแม้ว่ารัฐมนตรี 4 คน
ที่ออกมาตั้งพรรคพลังประชารัฐในท้ายที่สุดจะลาออกจากรัฐบาลมารณรงค์หาเสียงอย่างเต็มตัวหลังจากถูก
วิพากษ์วิจารณ์มาเป็นเวลานาน แต่ตัวพลเอกประยุทธ์ในฐานะหัวหน้า คสช. และ หัวหน้ารัฐบาลนั้นแม้ว่าจะไม่ได้
ออกไปหาเสียงกับพรรคพลังประชารัฐโดยตรงด้วยข้อจ�ากัดทางกฎหมาย แต่ก็ยังท�างานในฐานะรัฐบาลและออก
ตรวจเยี่ยมประชาชนในฐานะหัวหน้ารัฐบาลโดยตลอดช่วงการเลือกตั้ง ดังมีกรณีตัวอย่างที่ตารางการหาเสียง
ของพรรคพลังประชารัฐบางครั้งไล่ชนกับการลงพื้นที่ของรัฐบาลโดยเฉพาะการเยี่ยมประชาชนในพื้นที่เดียวกัน
กับนายกรัฐมนตรีห่างกันเพียงวันเดียว ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
พร้อม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดาลงพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์
พรรคพลังประชารัฐ โดยมีนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ พร้อมด้วยนางสาว
ภาดาท์ วรกานนท์ ผู้สมัครเขต 6 พญาไท ราชเทวี และจตุจักรลงพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร (PPTVHD36, 2562ค)