Page 478 - kpiebook63010
P. 478
477
ค. การได้เปรียบเชิงนโยบาย: ความเชื่อมโยงของชื่อพรรคพลังประชารัฐ กับ นโยบายและยุทธศาสตร์
ของรัฐบาลนั้นสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ค�าว่าประชารัฐนั้นเป็นค�าที่ถูกใช้ขึ้นในฐานะแนวคิดหลักของประชาธิปไตย
ของรัฐบาล คสช. ส่วนหนึ่งในฐานะที่เป็นทางเลือกใหม่ในจินตกรรมทางการเมืองแทนค�าว่า “ประชาธิปไตย”
(อนุสรณ์ ธรรมใจ, 2558) นอกจากนั้นแล้ว การหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐนั้นยังน�าเสนอนโยบายจ�านวนมาก
ที่ีลักษณะที่สื่อสารให้กับประชาชนทราบว่าจะท�านโยบายเดิมของรัฐบาลปัจจุบันต่อเนื่องไป โดยเฉพาะนโยบาย
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่รับรู้กันในนามนโยบาย “บัตรคนจน”
นอกเหนือจากความได้เปรียบเชิงนโยบายอาทิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีคนจ�านวนมากสนับสนุน
โครงการนี้ไม่ใช่เพียงเพราะว่าได้รับเงินโอนตรงเข้าบัญชี (แม้ว่าจะมีปัญหาอยู่หลายประการดังที่มีการรายงาน
มาโดยตลอด เช่นการเอื้อนายทุนใหญ่ การใช้ในร้านที่ลงทะเบียนกับกระทรวงพานิชย์เท่านั้น หรือ การสมัครนั้น
มีความยุ่งยากและมีการรับจ้างสมัครและหักค่าหัวคิว (Thai News, 2018) แต่อีกประเด็นส�าคัญก็คือ ประชาชน
จ�านวนไม่น้อยกลัวว่านโยบายที่มีลักษณะ “ประชานิยม” เช่นนี้หากถูกเสนอโดยพรรคอื่น อาจจะไม่สามารถ
ปฏิบัติได้จริง เพราะอาจจะถูกตรวจสอบจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และกรอบกติกาของยุทธศาสตร์ชาติได้
ความได้เปรียบเชิงนโยบายของพรรคพลังประชารัฐในประการสุดท้าย ได้แก่การที่นโยบายต่าง ๆ
ของพรรคพลังประชารัฐนั้นยังคงท�างานอย่างต่อเนื่องในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง อาทิ มีการเพิ่มเงิน
ค่าป่วยการให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน (อสม.) จาก 600 บาท เป็น 1,000 บาท โดยโอนเงิน
ไปให้กับ อสม. จ�านวน 1,024,407 คน เป็นจ�านวนเงินกว่า 1,814 ล้านบาท ซึ่งเป็นการโอนเงินเข้ามาในบัญชี
ในช่วงวันที่ 20 มีนาคม ก่อนการลงคะแนนเสียง เพียงไม่กี่วัน (ประชาไท, 2562ค) ไม่นับถึงการโอนเงินสวัสดิการ
แห่งรัฐเข้าบัญชีในทุก ๆ เดือนอยู่แล้ว
4.3.3.2 การยึดกุมเครือข่ายการเลือกตั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น
เราไม่สามารถอธิบายชัยชนะของพลังประชารัฐในกรุงเทพมหานครเพียงเพราะความได้เปรียบในระดับ
จุดยืนทางการเมือง ระบบการเมืองและการเลือกตั้ง และนโยบายในฐานะที่ก�าหนดชัยชนะอย่างแน่นอนให้กับ
พรรคพลังประชารัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ หากไม่ท�าความเข้าใจถึงพลวัตรทางการเมืองในแต่ละเขตเลือกตั้ง
ของกรุงเทพมหานครทั้ง 30 เขต และการท�าความเข้าใจกลไกส�าคัญที่มีผลต่อการก�าหนดชัยชนะของการเลือกตั้ง
ในระดับท้องถิ่น ได้แก่ การจัดองค์กรการระดมการสนับสนุนในพื้นที่ และ การแข่งขันกันระหว่างผู้สมัคร
ของแต่ละพรรค และ การแย่งชิงต่อรองการสนับสนุนผ่านโครงสร้างในพื้นที่ อาทิการเปิดโอกาสให้นักการเมือง
ในระดับท้องถิ่นจากพรรคอื่นย้ายพรรคมาลง หรือการน�านักการเมืองนอกพื้นที่มาสมัครในพื้นที่นั้น โดยเชื่อมโยง
กับเครือข่ายฐานคะแนนเสียงในพื้นที่
ในส่วนนี้จะได้อภิปรายถึงภูมิหลังของผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐในภาพรวม และ เงื่อนไขในการ
ได้รับชัยชนะของพรรคพลังประชารัฐ