Page 44 - kpiebook63009
P. 44
44 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี
ขั้นตอนที่ 4 กำรตัดสินใจสุดท้ำยที่จะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง
ในขั้นตอนนี้ ตามปกติแล้วผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัคร
รับเลือกตั้งที่มีคะแนนรวมจากการประเมินมากที่สุด แต่ในขั้นตอนนี้อาจจะมีเหตุการณ์บางอย่างเข้ามาสอดแทรก คือ
ผู้ลงคะแนนเสียงบางคนอาจจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามอิทธิพลของสิ่งของเงินทองที่ได้รับจากหัวคะแนน
ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งด้วย กล่าวคือ ถึงแม้ว่าจะมีขั้นตอนในกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้ง
มาโดยตลอด จนกระทั่งได้ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับการประเมินสูงสุด แต่เมื่อรับเงินหรือสิ่งของไปแล้ว อาจจะ
ทำาการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจไปลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนเองรับสิ่งของเงินทองมาก็ได้
1.4 แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) (ยุทธพร อิสรชัย, 2561: 8-5-8-6)
มีนักวิชาการ เช่น Rush & Althoff ให้ความหมายว่า หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสารที่เกี่ยวกับการเมือง
จากส่วนหนึ่งของระบบการเมืองไปยังอีกส่วนหนึ่งของระบบการเมือง และเป็นการถ่ายทอดระหว่างระบบสังคม
กับระบบการเมือง ขณะที่ Shaffee กล่าวว่า การสื่อสารทางการเมืองมีลักษณะเป็นระบบของการแพร่ข่าวสาร
ทางการเมืองไปยังสมาชิกของพรรคการเมือง
จากการก่อตัวของโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ McLuhan เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับชุมชนโลก (global
community) (ยุทธพร อิสรชัย, 2561: 8-34) โดยกล่าวว่า วัฒนธรรมของปัจเจกบุคคลที่มนุษย์เคยรู้จัก
จะถูกแทนที่ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “การพึ่งพาอาศัยทางอิเล็กทรอนิกส์” (electronic interdependence) ในยุคสมัยใหม่
มนุษยชาติจะเปลี่ยนแนวทางการติดต่อสื่อสารที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง ไปเป็นความมีอัตลักษณ์ร่วมกัน
หรือที่ McLuhan เรียกว่า “รากฐานแบบชนเผ่า” (tribal base) ประดิษฐกรรมทางความคิดซึ่งถือเป็นนวัตกรรม
ทางสังคมนี้ ใช้เรียกองค์กรทางสังคมแบบใหม่ซึ่งมีลักษณะเป็น “หมู่บ้านโลก” (global village) ที่คนทั่วทั้งโลก
สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ จนเปรียบเสมือนกับผู้คนที่อยุ่ในชุมชนเดียวกัน
คนทั่วโลกจะมีความสำานึกรับรู้ (perception) และประสบการณ์ (experience) อันเป็นสากลเฉกเช่นเดียวกัน
โดยผ่านการแพร่กระจายของสื่อที่เป็นระบบโลก (global media system) ทำาให้คนจำานวนมากสามารถ
รู้เรื่องราวที่ไหนก็ได้ ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วหรือเวลาเดียวกัน แม้จะมีที่อยู่ทางกายภาพคนละซีกโลกก็สามารถ
ทราบเรื่องราวในเวลาจริงได้ผ่านสื่อ เช่น การถ่ายทอดสดโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เว็บไซต์ และอินเทอร์เน็ต
2. กฎหมำยรัฐธรรมนูญและกฎหมำยอื่นที่เกี่ยวข้อง
ส่วนแรกนี้เป็นการนำาเสนอกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร พรรคการเมือง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำาจังหวัด
ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้