Page 42 - kpiebook63009
P. 42

42       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี







                      ลำซำร์สเฟลด์ และคณะ (Pual F. Lazarsfeld, Berelson, and Hazel Gandet, 1944) และ

             การศึกษาของเบอเรลสันและคณะ (Bernard R. Berelson, Paul F. Lazarsfeld, and William M.
             Mcphee, 1954: 107) ได้ข้อสรุปเชิงทฤษฎีของพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหลายประการเป็นต้นว่า

             การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทำาให้คนที่ตัดสินใจไว้แล้วว่าจะเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด เปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัคร
             รับเลือกตั้งคนอื่นมีจำานวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และในจำานวนที่เปลี่ยนใจไปนั้นเป็นพวกที่ได้รับอิทธิพล

             จากความกดดันของกลุ่มที่นิยมพรรคการเมือง (กลุ่ม Primary) ยิ่งกว่าจะเป็นอิทธิพลของประเด็นนโยบาย
             ที่ใช้ในการหาเสียง นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนจำานวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่มีการสื่อสารติดต่อกับพรรคการเมืองที่

             ตนไม่สังกัด และที่สำาคัญคือ อาชีพ ที่อยู่อาศัย (ชนบท ในเมือง) ศาสนา และอุปนิสัยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
             ของบุคคลในอดีตเป็นตัวกำาหนดที่สำาคัญต่อพฤติกรรมการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของบุคคล


                      แคมป์เบลล์ และคณะ (1954;  Angus Campbell,  Philip E. Converse, Warren E. Miller, and

             Donald E. Stokes, 1960, 1966) ศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สรุปสาระสำาคัญของทฤษฎี
             ที่เกี่ยวข้องกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เช่น


                      •  ทฤษฎีควำมส�ำนึกเชิงเหตุผล (Consciously rational Theories) เน้นที่ปฏิกิริยา

                          ของความสำานึกตรึกตรองของผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงที่มีต่อการบริหารการเลือกตั้ง นโยบายของพรรค
                          และสภาพของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับว่ากรอบความคิดเชิงเหตุผล (rational
                          framework) ของผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเสมือนกับการตัดสินใจของผู้บริโภคในทางเศรษฐศาสตร์


                      •  ทฤษฎีระบบ (Systems Theories) เป็นการศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดย

                          การพิจารณาเชิงระบบทั่วไปว่าปัจจัยแวดล้อมที่เกิดขึ้นเฉพาะช่วงสมัยที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นปัจจัย

                          ที่มีผลระยะสั้น (Short-term forces) เช่น ความสนใจในตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง ความเห็นต่อนโยบาย
                          และปัญหาทางการเมือง ภาพพจน์ที่มีต่อการปฏิบัติงานของพรรค สถานการณ์ภายในและภายนอก
                          ประเทศ สภาพการแข่งขันของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น จะผันแปรไปในแต่ละช่วงสมัยของ

                          การเลือกตั้ง เมื่อประมวลรวมกันแล้วจะมีผลต่อปัจจัยพื้นฐาน คือ ความนิยมพรรคการเมือง

                          ซึ่งอาจทำาให้ผู้ลงคะแนนเสียงเปลี่ยนความนิยมพรรคการเมืองจากพรรคการเมืองหนึ่งไปยัง
                          อีกพรรคการเมืองหนึ่ง เป็นการแกว่งออกจากสภาวะสมดุล “ปกติ” และเมื่อถึงการเลือกตั้ง
                          คราวต่อไป ก็มักจะแกว่งกลับโดยนัยเดียวกันเช่นนี้เรื่อยไป


                      ความผูกพันพรรคมีองค์ประกอบหลายประการ บางคนผูกพันพรรคเพราะชอบนโยบายพรรค

             ตรงกับตน หรือชอบบุคลิกภาพของผู้นำา ความผูกพันพรรคมิได้หมายความเฉพาะการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
             เท่านั้น แต่รวมถึงการสนับสนุนพรรคในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย


                      อย่างไรก็ตามได้เคยมีผู้ศึกษาและสรุปเกี่ยวกับความผูกพันพรรคของคนไทยออกมาว่าการเลือกตั้ง

             ของไทยนั้น การลงคะแนนเสียงมักให้ความสำาคัญกับผู้สมัครมากกว่าพรรคการเมือง (สุจิต บุญบงการ
             และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, 2527: 184)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47