Page 40 - kpiebook63009
P. 40
40 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี
ขณะที่ Verba, Nie และ Kim (1978: 46) ได้นิยามว่า หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีความถูกต้อง
ตามตัวบทกฎหมายของประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์มากหรือน้อยก็ตามแต่ต้องการมีอิทธิพลในการเลือกสรร
เจ้าหน้าที่รัฐบาล ตลอดจนการกระทำาหรือการดำาเนินการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น
รูปแบบของกำรเข้ำร่วมทำงกำรเมือง โดยทั่วไปแล้วจะถูกจัดแบ่งออกไปตามการให้นิยามของ
การเข้าร่วมทางการเมืองว่าจะมีความครอบคลุมได้มากน้อยแค่ไหน เช่น Kim ได้จัดรูปแบบโดยจำาแนกออกเป็น
มิติต่างๆ ดังตาราง
ตำรำง 2.1 รูปแบบของกำรเข้ำร่วมทำงกำรเมือง
การเข้าร่วมโดยเป็นไปตาม การเข้าร่วมโดยไม่เป็นไปตาม
ธรรมเนียมนิยม (conventional) ธรรมเนียมนิยม (unconventional)
แบบที่ 1 แบบที่ 2
การเข้าร่วมโดย - การไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง - เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่ไม่ถูกต้อง
ความสมัครใจ ตามตัวบทกฎหมาย เช่น การเดินขบวน
- การพูดคุยสนทนากันในเรื่องที่เกี่ยวกับ การประท้วง การก่อวินาศกรรม การเผชิญ
ทางการเมือง หน้าต่อสู้ เป็นต้น
- การเข้าร่วมกลุ่มในทางการเมือง - การเข้าร่วมในลักษณะการ sit-ins
- การเข้าร่วมในการรณรงค์หาเสียง - เป็นพฤติกรรมทางการเมืองที่รุนแรง
- การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือ เช่น การลอบฆาตกรรม การลักพาเรียก
เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ค่าไถ่ การรบอย่างกองโจร การปฏิวัติ
จลาจล เป็นต้น
- การหาตำาแหน่งในทางการเมือง
แบบที่ 3 แบบที่ 4
การเข้าร่วมโดย - การไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง - การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มพลังต่างๆ
ความไม่สมัครใจ ทางการเมืองที่มุ่งจะทำาลายในทาง
- การเข้าร่วมกลุ่มในทางการเมือง การเมือง
- การเข้าร่วมในการรณรงค์หาเสียง
- การเข้าร่วมชุมนุม
ระดับของกำรเข้ำร่วมทำงกำรเมือง การจัดลำาดับความสูงตำ่าของการเข้าร่วมทางการเมือง
ประเภทต่างๆ มักจะยึดในหลักเชิงตรรกะที่ว่า การเข้าร่วมทางการเมืองแต่ละประเภทนั้นต่างก็จะใช้ทรัพยากร
เช่น เวลา เงินทอง ตลอดจนพลังงาน และอื่นๆ ที่แตกต่างกัน ดังนั้น กิจกรรมการเข้าร่วมแบบใดที่บุคคลได้