Page 43 - kpiebook63009
P. 43

43








                            1.3 แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้ง สิ่งสำาคัญก่อนที่จะมีการลงคะแนนเสียง

                  เลือกตั้งคือ การตัดสินใจเลือกตั้ง ซึ่งมีผู้ศึกษาและแบ่งกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งออกเป็น 4 ขั้นตอน
                  คือ (สัมฤทธิ์ ราชสมณะ, 2530: 36-71)


                          ขั้นตอนที่ 1 กำรได้รับข่ำวสำรเกี่ยวกับกำรเลือกตั้งและข่ำวสำรเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                  ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับข่าวสารว่าจะต้องมีการเลือกตั้ง การได้รับทราบข่าวสารของการสมัครรับเลือกตั้ง
                  การได้ทราบข่าวสารเกี่ยวกับตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง และนโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                  ซึ่งในการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้นประชาชนในชนบทได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยผ่านสื่อ
                  หรือช่องทางใดบ้างและข่าวสารต่างๆ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือเกี่ยวกับ

                  พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประชาชนเลือกรับข่าวสารในลักษณะใดจนกระทั่งนำาข่าวสารนั้นไปเป็น
                  หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้เหลือเท่ากับจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องการ

                  จะลงคะแนนเสียงให้ จากสื่อหรือช่องทางหลายๆ ทางนั้นประชาชนเลือกที่จะเชื่อข่าวสารจากแหล่งใดมากที่สุด
                  และลักษณะของข่าวสารที่ผ่านไปสู่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้นก็เป็นลักษณะข่าวสารที่หลากหลาย เพื่อที่จะจูงใจ

                  ให้ลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง ประชาชนเลือกที่จะรับข่าวสารลักษณะใดมาเป็นเกณฑ์
                  ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อที่จะลงคะแนนเสียงให้


                          ขั้นตอนที่ 2 กำรสร้ำงหลักเกณฑ์และกำรให้น�้ำหนักของหลักเกณฑ์ในกำรตัดสินใจเลือกตั้ง
                  สมำชิกสภำผู้แทนรำษฎร  เมื่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งยอมรับว่าจะต้องมีการตัดสินใจ และได้รับข่าวสารต่างๆ

                  เกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือนโยบายของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดอยู่ หรือผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

                  ที่ผูกพันกับพรรคการเมืองหรือผูกพันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งก็จะสร้างหลักเกณฑ์ในการที่จะคัดเลือกผู้สมัคร
                  รับเลือกตั้ง เพื่อที่จะคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนเองถูกใจมากที่สุด ให้เหลือจำานวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                  ที่พึงมีได้ หรือเท่าที่ตัวเองต้องการจะลงคะแนนเสียงให้ ผู้ลงคะแนนเสียงก็จะมาสร้างหลักเกณฑ์ของตนเองว่า

                  ในการลงคะแนนเสียงครั้งนี้จะให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองหรือให้ความสำาคัญกับคุณสมบัติส่วนตัว

                  ของบุคคล ในขั้นตอนนี้จะเริ่มมีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเห็นชอบกับ
                  ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข่าวสารต่างๆ ทั้งในด้านส่วนตัวของผู้สมัครรับเลือกตั้ง  หรือนโยบายของพรรคการเมือง
                  ก็จะเริ่มเข้าสู่ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงก็จะเริ่มประเมินข่าวสารต่างๆ ที่

                  ได้รับมานั้นสอดคล้องกับหลักเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ ผู้ลงคะแนนเสียง

                  เลือกตั้งบางคนอาจจะให้ความสำาคัญกับนโยบายของพรรคการเมือง บางคนให้ความสำาคัญกับคุณสมบัติส่วนตัว
                  ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                          ขั้นตอนที่ 3 กำรประเมินและกำรจัดล�ำดับผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อได้กำาหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ และ
                  ให้นำ้าหนักของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้ว ตามที่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งใช้เป็นเกณฑ์

                  ในการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง หลังจากนั้นจะเป็นการประเมินผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคน (หรือเท่าที่

                  ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะประเมิน) ว่าตามหลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคน
                  ควรจะได้รับการประเมินเท่าไร ตามการประเมินของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแต่ละคน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48