Page 220 - kpiebook63009
P. 220
220 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี
2.4 ผลการสัมภาษณ์
2.4.1 เหตุผลที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง พบว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยเหตุผล
หลายประการ เช่น เป็นตระกูลการเมืองที่ทำางานมาอย่างต่อเนื่องสืบทอดกันมานับจากรุ่นบิดา ต้องการขอบคุณ
ผู้ที่ให้การสนับสนุน อยู่ในแวดวงการเมืองทำางานการเมืองมาตั้งแต่ในระดับการเมืองท้องถิ่น ต้องการสืบทอด
เจตนารมณ์ทางการเมือง ความศรัทธาในพรรคการเมือง การให้ความช่วยเหลือ ความต้องการพัฒนาพื้นที่
ที่ยังมีความขาดแคลน รวมถึงความต้องการในการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ผ่านมาสังคมไม่มีทางออก
ของการแบ่งขั้วทางการเมือง และต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนรุ่นใหม่
2.4.2 นโยบายที่ใช้ในการหาเสียง พบว่า ใช้นโยบายที่พรรคกำาหนด สโลแกนประจำาตัว
และความสัมพันธ์ส่วนตัว
2.4.3 วิธีการหาเสียง พบว่า มีการใช้ทั้งสื่อเอกสาร สื่อป้ายหาเสียง สื่อรถโฆษณาหาเสียง
การใช้สื่อบุคคล ด้วยการลงพื้นที่ อาศัยเครือญาติ เพื่อนสนิท นักการเมืองในระดับท้องถิ่น และการใช้สื่อสังคม
ออนไลน์
2.4.4 บุคคล/บุคคลกลุ่มที่ช่วยสนับสนุนการเลือกตั้ง พบว่า ได้แก่ กลุ่มกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน
นักการเมืองท้องถิ่นทั้งในระดับท้องถิ่น และในระดับชาติ ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน
2.4.5 ค่าใช้จ่าย พบว่า มีการใช้จ่ายตามที่กำาหนด เป็นค่าป้าย แผ่นพับ รถโฆษณา บัตรแนะนำาตัว
ค่าจ้างแรงงานสำาหรับผู้ช่วยหาเสียง โดยพรรคชาติไทยพัฒนามีการใช้จ่ายเงินรวมทั้ง 4 เขตเลือกตั้ง เป็นจำานวน
4,618,044.50 บาท
2.4.6 ปัญหา อุปสรรค พบว่า เป็นประเด็นปัญหาเรื่องป้ายที่มีจำานวนมาก และขนาดที่
ไม่ตรงตามที่กำาหนด มีการขนคนมาฟังการหาเสียง และอากาศร้อน
2.4.7 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี พบว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ได้นำาเทคโนโลยีมาใช้ในการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค ไลน์ แฟนเพจ เป็นต้น
3. พฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน
3.1 พฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3.1.1 ผลคะแนนรวมรายพรรคการเมืองทั้งประเทศ พบว่า พรรคที่ได้คะแนนรวมสูงสุด
คือ พรรคพลังประชารัฐ ได้ 8,441,274 คะแนน สำาหรับพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มี
ความเหนียวแน่นในจังหวัดสุพรรณบุรีนั้น ได้รับคะแนนรวมเป็นลำาดับที่ 7 จำานวน 783,689 คะแนน