Page 224 - kpiebook63009
P. 224

224      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี







             เข้ามีส่วนร่วมในทางการเมืองมานาน อย่างไรก็ตามกิจกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ตามแนวคิด Milbrath

             (วิสุทธิ์ โพธิแท่น, 2551: 50) ถือว่าเป็นเพียงขั้นที่ 2 จาก 14 ขั้นของการจัดลำาดับความสำาคัญของการมีส่วนร่วม
             ทางการเมือง ประกอบกับผลการวิจัยที่พบเพิ่มเติมว่า มีการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

             และการเข้าไปเป็นสมาชิกพรรคมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับที่น้อยที่สุด จึงอาจกล่าวได้ว่าประชาชนมีส่วนร่วม
             ทางการเมืองในระดับสนใจและมีส่วนร่วมน้อยเท่านั้น


                      2.3 เหตุผลที่ทำาให้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ลำาดับแรก เพราะกฎหมายกำาหนด มีค่าเฉลี่ยรวม

             อยู่ในระดับปานกลางนั้น กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในหมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย ว่า บุคคลมีหน้าที่
             ต่อไปนี้ “ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยค�านึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นส�าคัญ”

             (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 50 (7)) และการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและ
             ไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ทำาให้ถูกจำากัดสิทธิ ที่บัญญัติว่า “ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและ

             มิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร
             ผู้นั้นถูกจ�ากัดสิทธิ ดังต่อไปนี้ (1) ยื่นค�าร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) สมัคร

             รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือก
             เป็นสมาชิกวุฒิสภา (3) สมัครรับเลือกเป็นก�านันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

             (4) ด�ารงต�าแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภา
             ฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา (5) ด�ารงต�าแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการ

             ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหาร
             ท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

             การจ�ากัดสิทธิตามวรรคหนึ่งให้มีก�าหนดเวลาครั้งละสองปีนับแต่วันเลือกตั้ง” (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
             ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 35)


                      2.4 ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มาจากพรรคชาติไทยพัฒนา

             ทุกเขต คือ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายสรชัด สุจิตต์ เขตเลือกตั้งที่ 2 นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เขตเลือกตั้งที่ 3
             นายประภัตร โพธสุธน และเขตเลือกตั้งที่ 4 นายเสมอกัน เที่ยงธรรม โดยผลการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 3
             และ 4 ยังเป็นตระกูลเจ้าของพื้นที่เดิม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของณัฐพงศ์ บุญเหลือ (2556) เรื่องนักการเมือง

             ถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ที่พบว่า ความสำาเร็จในการก้าวเข้าสู่อาชีพนักการเมืองได้พัฒนามาสู่การเป็นกลุ่มตระกูล

             การเมืองที่ผูกขาดอำานาจทางการเมืองของจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างเบ็ดเสร็จในกลุ่ม 4 ตระกูลหลัก คือ ศิลปอาชา
             โพธสุธน เที่ยงธรรม และประเสริฐสุวรรณ และแม้ตระกูล “สุจิตต์” เองก็ถือว่ามีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
             กับตระกูลศิลปอาชา พร้อมทั้งได้รับเลือกตั้งให้ดำารงตำาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้เป็นสมัยที่ 2

             จึงถือได้ว่า เป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทตระกูลการเมืองเดิม
   219   220   221   222   223   224   225   226   227   228   229