Page 222 - kpiebook63009
P. 222
222 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี
3.2 การส�ารวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3.2.1 ข้อมูลทั่วไปของประชาชน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ
57.71 กลุ่มที่มีจำานวนมากที่สุดมีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 22.64 สำาเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(ม.4–ม.6, ม.ศ.4–ม.ศ.6, ปวช.) ร้อยละ 23.88 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 25.12 และมีรายได้ 5,001–
10,000 บาท/เดือน ร้อยละ 34.83
3.2.2 พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
1) การติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.35)
2) ช่องทางของสื่อที่มีการสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวม
อยู่ในระดับปานกลาง (X =2.72) โดยลำาดับแรกคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต
เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม เป็นต้น
3) ผลของการติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(X =3.17) โดยลำาดับแรกคือ ทำาให้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
4) สาเหตุที่ทำาให้ไม่สนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง (X = 2.89) โดยลำาดับแรกคือ สาระของข่าวสารทางการเลือกตั้งเชื่อถือ
ไม่ได้
5) เหตุผลที่ทำาให้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง (X = 3.09) โดยลำาดับแรกคือ กฎหมายกำาหนด
6) บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(X = 2.93) โดยลำาดับแรกคือ ผู้นำาในชุมชน
7) ประเด็นการตัดสินใจเลือก ส.ส. พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.98)
โดยลำาดับแรกคือ นโยบายของพรรคการเมือง
8) การพบเห็นพฤติกรรมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวม
อยู่ในระดับน้อย (X = 2.30) โดยลำาดับแรกคือ การแจกเงิน
9) ลักษณะการเข้าไปมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ
น้อยที่สุด (X = 1.73) โดยลำาดับแรกคือ การเป็นสมาชิก
10) ปัจจัยที่ทำาให้สนับสนุนพรรคการเมือง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(X = 3.10) โดยลำาดับแรกคือ ความชื่นชอบที่มีต่อตัวผู้นำา/แกนนำาพรรคการเมือง