Page 225 - kpiebook63009
P. 225
225
2.5 การเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรียังคงผูกอยู่กับระบบอุปถัมภ์ จากผลวิจัยที่พบว่า
ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้วิธีการหาเสียง โดยสื่อบุคคล คือ กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่นทั้งในระดับท้องถิ่น
และระดับชาติ ครอบครัว เครือญาติ รวมถึงเพื่อน และเพื่อนร่วมงาน ขณะที่ในส่วนของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ก็แสดงความคิดเห็นว่า บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ลำาดับแรกคือ ผู้นำาในชุมชน โดยมีค่าเฉลี่ยรวม
อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ฐปนรรต พรหมอินทร์ (2558) เรื่องการศึกษา
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่เคยศึกษาไว้ และยังสะท้อนให้เห็นว่า การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนั้นยังคงผูกติดอยู่กับระบบอุปถัมภ์ ซึ่งหมายถึง
การคำ้าจุน การคำ้าชู การสนับสนุน ซึ่งกันและกันระหว่างผู้ให้การอุปถัมภ์และผู้รับการอุปถัมภ์ โดยฝ่าย
ผู้รับอุปถัมภ์มักจะเป็นผู้เสียเปรียบเพราะโดยคำาจำากัดความว่าเป็นผู้ที่อ่อนแอกว่าทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
(https://th.wikipedia.org/wiki) ซึ่งส่วนนี้สัมพันธ์กับผลการวิจัยที่ค้นพบ คือ มีการแจกเงิน แม้ว่าจะมีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับน้อยก็ตาม และยังยืนยันจากคำาสัมภาษณ์ขององค์กรตรวจสอบการเลือกตั้งที่ว่า “มีการแจกเงิน
แต่ไม่มีใครกล้ามาเป็นพยาน”
2.6 จากผลการวิจัยที่พบว่า ช่องทางของสื่อที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง
ลำาดับแรกคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม เป็นต้น โดยมีค่าเฉลี่ยรวม
อยู่ในระดับปานกลาง ด้านผู้สมัครรับเลือกตั้งก็นำาเทคโนโลยีมาใช้ในการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ เช่น สื่อสังคม
ออนไลน์ เฟซบุ๊ค ไลน์ แฟนเพจ เป็นต้น โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับ
การเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีถือเป็นฐานเสียงสำาคัญของพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคอนาคตใหม่
ก็สามารถที่จะได้รับคะแนนนิยม โดยในเขตเลือกตั้งที่ 1 และ 2 สูงเป็นลำาดับ 2 รองมาจากพรรคชาติไทยพัฒนา
และในเขตเลือกตั้งที่ 3 และ 4 สูงเป็นลำาดับที่ 3 ซึ่งในเขตเลือกตั้งที่ 3 และ 4 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเดิมที่เคย
ลงสมัครแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคชาติไทยพัฒนา เมื่อรวมคะแนนที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับทั้งสิ้น
สูงถึง 113,940 คะแนน ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคอนาคตใหม่ให้สัมภาษณ์ว่า “พยายามสื่อสารกับ
ประชาชนในสื่อออนไลน์ (social media) ให้มากที่สุด ซึ่งยอมรับว่า สื่อออนไลน์ช่วยให้เราเข้าถึงประชาชน
ได้ไว้และเพิ่มขึ้น และเป็นอาวุธส�าคัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ของพรรคอนาคตใหม่” จากการที่
พรรคอนาคตใหม่ใช้ช่องทางการสื่อสารที่กล่าวมา ตรงกับที่แมคลูฮัน (ยุทธพร อิสรชัย, 2561: 8-34) เสนอ
ทฤษฎีเกี่ยวกับชุมชนโลก (global community) ที่ว่า วัฒนธรรมของปัจเจกบุคคลที่มนุษย์เคยรู้จักจะถูกแทนที่
ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “การพึ่งพาอาศัยทางอิเล็กทรอนิกส์” (electronic interdependence) ซึ่งแมคลูฮัน
เรียกองค์กรทางสังคมแบบใหม่ซึ่งมีลักษณะเป็น “หมู่บ้านโลก” (global village) ที่คนทั่วทั้งโลกสามารถติดต่อ
สื่อสารกันได้ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจนเปรียบเสมือนกับผู้คนอยู่ในชุมชนเดียวกัน ซึ่งการแพร่กระจาย
ของสื่อที่เป็นระบบโลกทำาให้คนจำานวนมากสามารถรู้เรื่องราวที่ไหนก็ได้ ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วหรือเวลาเดียวกัน