Page 216 - kpiebook63009
P. 216
216 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี
วิธีด�ำเนินกำรวิจัย
1. ผู้ให้ข้อมูล และกลุ่มตัวอย่ำง การวิจัยครั้งนี้ แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1.1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำาหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้อำานวยการ
การเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้อำานวยการการเลือกตั้งระดับเขตเลือกตั้ง คณะกรรมการประจำาหน่วย
เลือกตั้ง นักการเมืองระดับท้องถิ่น กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน นักธุรกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำาชุมชน องค์กรตรวจสอบ
การเลือกตั้ง ตลอดจนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำานวน 22 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างสำาหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ประชาชนซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง
ทั้ง 4 เขต จำานวน 402 ตัวอย่าง
2. กำรเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
2.1 การศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2 การเก็บข้อมูลภาคสนาม แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ 1) การสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง
2) การเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งทั้ง 4 เขต และ 3) การสังเกตการณ์
แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม
3. เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม
4 กำรวิเครำะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการพรรณาวิเคราะห์ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ
ใช้ค่าสถิติร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วจึงใช้การพรรณนาความ
1. สรุปผลกำรวิจัย พบว่ำ
1. บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรอื่น
1.1 การท�างานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับพื้นที่ ประกอบด้วย
1.1.1 ผู้ตรวจการเลือกตั้ง พบว่า มีบทบาทน้อย
1.1.2 ผู้อำานวยการสำานักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุพรรณบุรี
1) แผนการทำางาน พบว่า มีการดำาเนินงานตามแผนที่วางไว้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การ
รับสมัครรับเลือกตั้ง การประชาสัมพันธ์ โดยมีการมอบหมายเจ้าหน้าที่ให้ช่วยประจำา
เขตเลือกตั้งต่าง ๆ