Page 212 - kpiebook63009
P. 212
212 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี
เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า มีจำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำานวน 171,768 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็น
ร้อยละ 81.82 บัตรดี ร้อยละ 92.83 บัตรเสีย ร้อยละ 6.33 บัตรไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด ร้อยละ 0.84 ผู้ที่ได้รับ
เลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ นายประภัตร โพธสุธน พรรคชาติไทยพัฒนา
ได้รับคะแนน 59,783 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า มีจำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำานวน 163,254 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็น
ร้อยละ 78.27 บัตรดี ร้อยละ 91.58 บัตรเสีย ร้อยละ 7.56 บัตรไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด ร้อยละ 0.86 ผู้ที่ได้รับ
เลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ นายเสมอกัน เที่ยงธรรม พรรคชาติไทยพัฒนา
ได้รับคะแนน 59,714 คะแนน
1.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจากการสัมภาษณ์ พบว่า ประชาชนให้ความสนใจ
และมีความตื่นตัวต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะว่างเว้นการเลือกตั้งมานาน และอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง
ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ โดยปัจจัยที่ทำาให้ได้รับเลือกตั้งคือ ความผูกพันที่ได้ไปร่วมงาน
กับประชาชน ประชาชนรู้จัก ให้ความช่วยเหลือ/คำาปรึกษา อิทธิพลจากบารมีของนายบรรหาร ศิลปอาชา
ขณะที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ได้รับเลือกตั้งเชื่อว่า มีการทุจริตการเลือกตั้งด้วยการซื้อเสียง จึงทำาให้ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ทั้งนี้บัตรเสียจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น กรณีการเลือกตั้งนอกเขตเกิดจาก
การส่งจดหมายผิดพื้นที่ และการขีดฆ่าบนบัตรเลือกตั้ง
2. กำรส�ำรวจควำมคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
2.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.71
กลุ่มที่มีจำานวนมากที่สุดมีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 22.64 สำาเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(ม.4–ม.6, ม.ศ.4–ม.ศ.6, ปวช.) ร้อยละ 23.88 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 25.12 และมีรายได้ 5,001–
10,000 บาท/เดือน ร้อยละ 34.83
2.2 พฤติกรรมการเลือกตั้ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีการติดตามข่าวสารการ
เลือกตั้ง (X = 3.35) ช่องทางของสื่อที่มีการสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง (X = 2.72) โดยลำาดับแรกคือ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม เป็นต้น ผลของการติดตามข่าวสาร
การเลือกตั้ง (X = 3.17) โดยลำาดับแรกคือ ทำาให้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สาเหตุที่ทำาให้ไม่สนใจติดตาม
ข่าวสารการเลือกตั้ง (X = 2.89) โดยลำาดับแรกคือ สาระของข่าวสารทางการเลือกตั้งเชื่อถือไม่ได้ เหตุผลที่ทำาให้
ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (X = 3.09) โดยลำาดับแรกคือ กฎหมายกำาหนด บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการ
ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (X = 2.93) โดยลำาดับแรกคือ ผู้นำาในชุมชน ประเด็นการตัดสินใจเลือก ส.ส. (X = 2.98)
โดยลำาดับแรกคือ นโยบายของพรรคการเมือง และปัจจัยที่ทำาให้สนับสนุนพรรคการเมือง (X = 3.10) โดยลำาดับแรก
คือ ความชื่นชอบที่มีต่อตัวผู้นำา/แกนนำาพรรคการเมือง