Page 213 - kpiebook63009
P. 213
213
ทั้งนี้ การพบเห็นพฤติกรรมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับน้อย
(X= 2.30) โดยลำาดับแรกคือ การแจกเงิน ขณะที่ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยตำ่าที่สุดคือ การจัดรถรับส่ง
และลักษณะการเข้าไปมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด (X = 1.73)
โดยลำาดับแรกคือ การเป็นสมาชิก ขณะที่ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยตำ่าที่สุดคือ การให้การสนับสนุน เช่น
การช่วยรณรงค์หาเสียง การบริจาคเงิน เป็นต้น
3. บทสรุปว่ำด้วยชัยชนะของพรรคชำติไทยพัฒนำวิเครำะห์ได้จำกปัจจัยส�ำคัญ 4 ประเด็น ดังนี้
3.1 ความต่อเนื่องในการทำางานทางการเมืองของตระกูลการเมือง พบว่า ตระกูล “ประเสริฐ สุวรรณ”
ตระกูล “ศิลปอาชา” ตระกูล “โพธสุธน” ตระกูล “เที่ยงธรรม” และตระกูล “สุจิตต์” ทุกตระกูลล้วนแล้วแต่
มีบทบาททางการเมืองมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
3.2 ความศรัทธาในตัวนายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งได้สร้างความเข้มแข็งให้กับพรรคชาติไทย
(พรรคชาติไทยพัฒนา พ.ศ. 2562) ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมาอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี ด้วยการสนับสนุน
งบประมาณ เพื่อการพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีจนเป็นที่กล่าวขวัญของผู้คนทั้งประเทศ
3.3 ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ทำางานทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง
ลงพื้นที่อย่างสมำ่าเสมอ ทั้งในช่วงที่มีการเลือกตั้ง และว่างเว้นจากการเลือกตั้ง
3.4 ผู้ให้การสนับสนุนการเลือกตั้ง ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลกลุ่มต่างๆ เช่น กำานัน
ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำาบล อาสาสมัคร กลุ่มแม่บ้าน รวมถึงเพื่อน เพื่อนร่วมงาน และครอบครัว
เป็นต้น สำาหรับในช่วงที่มีการเลือกตั้งก็จะมีหัวหน้าพรรค หรือบุคคลสำาคัญของพรรคมาร่วมรณรงค์หาเสียง
ให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วย