Page 16 - kpiebook63009
P. 16
16 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี
บทสรุปผู้บริหำร
รายงานการวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บรรยากาศทางการเมืองและ
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรและกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 2) ความเคลื่อนไหว
และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 3) บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับการเลือกตั้ง และ 4) พฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง ของประชาชนในการเลือกตั้ง
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
มีจำานวน 22 คน ประกอบด้วย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้อำานวยการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้อำานวยการเลือกตั้ง และคณะกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้ง นักการเมืองระดับท้องถิ่น กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน
นักธุรกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำาชุมชน องค์กรตรวจสอบการเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่าง
เชิงปริมาณ คือ ประชาชนจากทุกเขตเลือกตั้ง จำานวน 402 ตัวอย่าง เก็บและรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์
แบบสอบถาม และการสังเกตการณ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ
ใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. บทบำทของหน่วยงำนภำครัฐ และองค์กรอื่นๆ
1.1 ระดับจังหวัด 1) ผู้ตรวจการเลือกตั้งมีบทบาทในการทำางานน้อย 2) ผู้อำานวยการการเลือกตั้ง
ประจำาจังหวัดสุพรรณบุรี มีการวางแผนการทำางาน และดำาเนินงานตามแผนที่วางไว้ทุกขั้นตอน โดยแบ่งเขตเลือกตั้ง
ออกเป็น 4 เขต การรับสมัครรับเลือกตั้งใช้หอประชุมที่ว่าการอำาเภอเมืองสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 4 – 8
กุมภาพันธ์ 2562 มีผู้สมัครฯ รวมทั้งสิ้น 112 คน จาก 32 พรรคการเมือง ส่วนที่เลือกตั้งกลางนอกเขตเลือกตั้ง
และที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง ใช้หอประชุมของหน่วยงาน โรงเรียน และศาลาประชาคม 3) มีผู้สมัคร
รับเลือกตั้งที่ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากพรรคถูกยุบ และเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซำ้าซ้อน 4) สถานที่ปิดประกาศ
และติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี และ