Page 90 - kpiebook63007
P. 90
90 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์
การตัดสินใจเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นญาติจะมาก่อน พรรคพวกรองลงมา ถ้าญาติกับพรรคพวก
มีเท่า ๆ กัน เงินจะมีบทบาทต่อการเลือกตั้งโดยที่พรรคการเมืองจะเป็นฐานรองรับให้ง่ายขึ้น คนชั้นกลางจะเป็น
ตัวแปรของการเลือกตั้ง คุณสมบัติผู้สมัคร เช่น วุฒิการศึกษา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีบทบาทน้อย
ในการตัดสินใจเลือกตั้ง ในระดับชาติจะเลือกพรรคเพราะมีโอกาสเป็นรัฐบาล มีลักษณะท้องถิ่นนิยม
“รักแล้วรักเลย” ไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีข้อบกพร่องบ้างก็ไม่ว่า สืบต่อยาวนานจนกลายเป็นอัตลักษณ์ทาง
การเมืองของจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย
2. ควำมเชื่อ
พฤติกรรมการเมืองของประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ถูกมองผ่านวาทะกรรม “โง่ จน เจ็บ”
ในความเป็นจริงเชิงพื้นที่แล้ว นักวิชาการส่วนใหญ่ได้มองว่า การซื้อสิทธิ์ขายเสียงที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยสำาคัญ
ที่ส่งผลต่อการชนะการเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยความเชื่อที่ปลูกฝังอยู่กับชาวอีสานเป็นเวลานาน
ซึ่งเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ การรับปาก ความซื่อสัตย์ต่อคำาพูด ความสงสาร การรับเงินและต้องต่างตอบแทน
เกิดขึ้นมากในสังคมประชาชนจังหวัดกาฬสินธุ์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความผูกพันกับความเชื่อ
อย่างมาก ความเชื่อดังกล่าวได้ส่งผลต่อพฤติกรรมสำาคัญที่ทำาให้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งในส่วนหนึ่ง
ถูกครอบงำาโดยความเชื่อที่เกิดจากการรับเงิน การรับปาก การรักษาคำาพูด และผลประโยชน์ต่างตอบแทน
3. พฤติกรรมทำงกำรเมือง
ส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองทางการแบบไพร่ฟ้า
(The subject political culture) ผสม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (The participant political
culture) กล่าวคือ ภูมิหลังความเป็นจังหวัดสีแดงของกาฬสินธุ์ ทำาให้คนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ส่วนหนึ่งเป็นคน
ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางการเมืองแม้ว่าจะด้วยเหตุผลของการรวมกลุ่มผ่านผู้นำาชุมชน แต่ก็ปฏิเสธ
ไม่ได้ว่าความจงรักภักดีของประชาชนที่ต่อคนและพรรค ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ยังมีอยู่มาก ส่งผลในพฤติกรรม
ทางการเมืองของประชาชนเป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม แต่ทว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นการ
มีส่วนร่วนร่วมด้วยเหตุผลที่เป็นปัจจัยส่วนบุคคล ความรักและผูกพันในพรรค ตัวผู้สมัคร แต่ประชาชนไม่ได้มี
ความรู้ทางการเมือง และไม่สนใจในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของผู้สมัครอื่นที่ตนเองไม่ได้สนใจ