Page 94 - kpiebook63007
P. 94

94       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์








             การเมืองที่เกิดขึ้น การเสนอชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรี การยุบพรรคการเมือง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำาให้ประชาชนยิ่งสนใจ

             การเมืองเพิ่มมากขึ้น


                      การเมืองในอดีตการใช้ระบบหัวคะแนนแบบเดิมคือเครือข่ายหัวคะแนนที่กระจายอยู่ทุกตำาบลและ
             ขยายต่อไปยังหมู่บ้านและคุมคะแนนเสียงไว้อย่างแน่นอนทำาให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ใช้ระบบหัวคะแนนแบบนี้

             ทราบจำานวนคะแนนเสียงที่แน่นอน รูปแบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้ง
             เป็นนายกเทศมนตรี กับกลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงในตำาบลโดยลักษณะของการใช้ระบบหัวคะแนนหรือเครือข่าย

             ความสัมพันธ์เป็นตัวเชื่อมกลางในการดำาเนินยุทธวิธีเพื่อให้ได้คะแนนเสียง ซึ่ง ระบบหัวคะแนนกับการเลือกตั้ง
             เป็นสิ่งที่ควบคู่กันอยู่ทุกยุคของการเลือกตั้ง กระแสพรรคการเมืองที่ประชาชนนิยม รวมไปถึงการใช้วิธี

             ย้ายทะเบียนบ้านให้กับผู้ลงคะแนนเสียงก่อนการเลือกตั้งจะจัดขึ้นตามระยะเวลาที่กฎหมายกำาหนด ส่งผลให้
             คะแนนเสียงเป็นต่อผู้สมัครคนอื่น ๆ และทำาให้ชนะการเลือกตั้งได้ นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำาให้ชนะหรือไม่ชนะ

             การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์นั้น จากการสนทนากลุ่มในหลายพื้นที่ การสัมภาษณ์
             การสังเกตการณ์ พบว่า “เงิน” เป็นปัจจัยหลักแต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวในการทำาให้ชนะการเลือกตั้ง กระแส

             ความนิยมของพรรคเป็นปัจจัยหลักมากกว่าเงิน แต่หากกระแสพรรคที่ได้รับความนิยมบวกกับเงินก็จะเป็น
             ปัจจัยบวกต่อคะแนนเสียงยิ่งขึ้น


                      ในการเลือกตั้งที่ผ่านในอดีตการเมืองมีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเหมือนกับสายนำ้าแห่งความศรัทธา
             ที่เริ่มจากตัวบุคคล ในอดีตจังหวัดกาฬสินธุ์เคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคประชาธิปัตย์ ในยุคแรกที่มีการเลือกตั้ง

             ต่อมาก็มีพรรคกิจสังคม พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ ที่ต่างก็ชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่

             สามารถชนะการเลือกตั้งทั้งจังหวัดได้ เหตุการณ์ที่มีการชนะการเลือกตั้งทั้งจังหวัดเกิดขึ้น เมื่อ 17 พฤศจิกายน
             2539 ซึ่งพรรคความหวังใหม่ สามารถชนะการเลือกตั้งได้ทั้ง 6 เขตการเลือกตั้ง ซึ่งเหตุผลที่ชนะการเลือกตั้ง
             ทุกเขตได้ ในขณะนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นดูด ส.ส. เพราะมีการย้ายพรรคจำานวนหลายเขต ดังนั้น การดูด ส.ส.

             เพื่อชนะการเลือกตั้งเป็นวิธีการและปัจจัยหนึ่งที่ทำาให้พรรคการเมืองชนะการเลือกตั้ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

             ที่ใช้ได้ผลในหลายจังหวัด ในปี 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อมีพรรคการเมืองที่ชื่อว่า พรรคไทยรักไทย
             เกิดขึ้นมี ส.ส.พรรคความหวังใหม่ จำานวนหนึ่งได้ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย ก่อให้เกิดการขาดเอกภาพของ
             ส.ส.ในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำานวน ส.ส. จาก 3 พรรคการเมือง คือ พรรคไทยรักไทย พรรคชาติไทย และพรรค

             ความหวังใหม่ ต่อมาในปี 2548 ได้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งปรากฏว่า พรรคไทยรักไทย

             สามารถชนะการเลือกตั้งได้ทั้ง 6 เขต เมื่อศึกษาข้อมูลพบว่า ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากการย้ายพรรคของ
             อดีต ส.ส. ในปี 2550 เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรคการเมือง ทำาให้เกิดพรรค
             พลังประชาชน เกิดขึ้น อดีต ส.ส. จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้ง 6 เขตเดิม ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน และสามารถ

             ชนะการเลือกตั้งได้ทั้ง 6 เขต เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และก็มีการเปลี่ยนแปลอีกครั้ง เมื่อพรรคพลังประชาชน

             ถูกยุบพรรค ก่อให้เกิดพรรคเพื่อไทย ขึ้นเพื่อสู้ศึกการเลือกตั้ง ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งพรรคเพื่อไทย
             ก็สามารถชนะการเลือกตั้ง ได้ทั้ง 6 เขต เมื่อวิเคราะห์การเมืองช่วงเปลี่ยนผ่าน ระหว่าง ปี พ.ศ.2544 – 2554
             ที่มีการเลือกตั้งในแต่ครั้ง กลุ่มคนที่ชนะการเลือกตั้งยังเป็นคนกลุ่มเดิม โดยการนำาของกลุ่มตระกูลชินวัตร

             ซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นคนอยู่เบื้องหลัง เหตุผลที่ทำาให้ชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง มีปัจจัย ดังนี้
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99