Page 99 - kpiebook63007
P. 99

99










                  บทที่ 5 สรุป



                  อภิปรำยผล และข้อเสนอแนะ




















                          ในบทส่งท้ายขอสรุปผลการผลวิจัย “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรม

                  การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรณีศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์” รายละเอียด ดังนี้






                  5.1 สรุปผลกำรวิจัย


                          5.1.1 สรุปภำพรวมพฤติกรรมกำรเลือกตั้งในจังหวัดกำฬสินธุ์



                          ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่กำาหนดให้มีการเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่
                  15 พฤศจิกายน 2476 โดยใช้ระบบการเลือกตั้งแบบทางอ้อม โดยประชาชนต้องเลือกผู้แทนตำาบลก่อน

                  ผู้แทนตำาบลจึงมาเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง (ศรุดา สมพอง, 2559) พฤติกรรมนักการเมืองส่วนใหญ่
                  ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก เนื่องจากนักการเมืองไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง แต่สังกัดและอิงอำานาจกับระบบ

                  ราชการที่เป็นองค์กรหลักในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ (เขตการเลือกตั้งเดียวกัน) พฤติกรรม
                  ของนักการเมืองจึงแสดงออกในลักษณะของปัจเจกบุคคล รวมถึงให้ความสำาคัญกับความสามารถของบุคคล

                  เป็นสำาคัญ ซึ่งพฤติกรรมนักการเมืองที่เป็นปัจเจกนี้จึงแสดงออกมาได้ตามความนิยมใน อุปนิสัยส่วนตัว บารมี
                  อำานาจหน้าที่ ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคลในยุคสมัยนั้น ผู้ที่ชนะการเลือกตั้งในยุคสมัยแรกของประเทศไทย จึงเป็น

                  เพียงผู้ที่เป็นชนชั้นนำารู้จักเท่านั้นไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปให้หมู่ประชาชน อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งแบบทางอ้อมนี้
                  ส่งผลให้เกิดการชี้นำาทางการเมืองจากเจ้าหน้าที่รัฐ อาทิ กำานัน และผู้ใหญ่บ้าน เข้ามามีบทบาทในการเลือกตั้ง

                  ของพื้นที่กาฬสินธุ์จวบจนปัจจุบัน
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104