Page 88 - kpiebook63007
P. 88

88       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์








             แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ถือเป็นช่องทางที่มีความคึกคักมาก

             จากการตื่นตัวทางการเมืองของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกที่เป็นนักศึกษา ได้มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
             กันอย่างแพร่หลายและส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเดียวกันคือการสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคที่ได้รับ

             กระแสนิยมจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใหม่ทุกคน


                        การเคลื่อนไหวขององค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีค่อนข้างน้อยมาก แม้กระทั่งในองค์กร
             ที่เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำาไรต่าง ๆ ที่ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเอง ทำาให้หน่วยงานที่

             เคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกจำากัดอยู่ในเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเท่านั้น



             4.4 กำรเปลี่ยนของพฤติกรรมทำงกำรเมือง แบบแผนพฤติกรรม


             ทำงกำรเมืองของประชำชน และกลุ่มกำรเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ

             กำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทนรำษฎรในจังหวัดกำฬสินธุ์



                      แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนเริ่มมีการพลิกผันเมื่อปี พ.ศ. 2544 เมื่อพรรค

             ไทยรักไทยได้ เสนอนโยบาย “ประชานิยม” ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ของพรรคการเมืองไทย ที่ได้นำานโยบายมาชู
             เป็นประเด็นหลักในการหาเสียง โดยเป็นนโยบายที่มุ่งเน้น เข้าถึงและโดนใจประชาชนคนชนชั้นล่าง คนยากจน

             ตลอดจนเกษตรกรในชนบท ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ นโยบายประชานิยมเป็นความคิด การได้รับ
             การสนับสนุนจากประชาชน คนยากคนจน หรือกลุ่มคนธรรมดา นโยบายที่กล่าวมานั้น ได้แก่ การพักหนี้เกษตรกร

             นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท บ้านเอื้ออาทร เป็นต้น จากนโยบายดังกล่าว
             พรรคไทยรักไทยจึงได้รับการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทยจึงได้เป็น

             แกนนำาในการจัดตั้ง รัฐบาลขึ้นเป็นรัฐบาลผสม และการเลือกตั้งในวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2548 ผู้สมัครของพรรค
             ไทยรักไทยก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างถล่มทลายเกินครึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยจำานวนที่นั่ง

             ในสภาผู้แทนราษฎรถึง 377 ที่นั่ง (Office of the Election Commission of Thailand, 2001) แต่ในขณะ
             เดียวกันเริ่มมีเสียงคัดค้านจากนักวิชาการ กลุ่มองค์กรต่าง ๆ มากขึ้นถึงความไม่ชอบมาพากลของคนในรัฐบาล

             ภายใต้การนำาของพรรคไทยรักไทย ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะที่เรียกว่า “ทักษิณา-ประชานิยม” (Laothamatas,
             2006) จากที่กล่าวมาข้างต้นพอจะเห็นได้ว่านโยบายเริ่มเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจในการใช้สิทธิเลือกตั้งของ

             คนไทย จะเห็นได้จากผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2544 ปี พ.ศ. 2548 จนถึงการเลือกตั้ง
             ปี พ.ศ. 2554 พรรคการเมืองที่เน้นนโยบายประชานิยมจะชนะการเลือกตั้งเสมอ จะต่างจากเดิมที่เลือกตามระบบ

             อุปถัมภ์หรือเลือกตัวบุคคล ไม่สนใจพรรคการเมือง ต่อมาเมื่อประชาชนเริ่มให้ความสนใจต่อนโยบาย โดยเฉพาะ
             นโยบายประชานิยม ซึ่งประชาชนมีความเชื่อว่าเขาจะได้รับประโยชน์หรือเข้าถึงการบริการของรัฐได้โดยตรง

             แม้กระทั่งในปัจจุบันนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ภายใต้การนำาของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
             นโยบายประชารัฐ เข้ามาบริหารประเทศด้วยสำาหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์

             ในครั้งนี้ด้วย
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93