Page 84 - kpiebook63007
P. 84

84       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์








                                   “ส�าหรับนักการเมืองแล้วมันเฮ็ดได้ทุกอย่างครับ บางคนกะเฮ็ดด่าจะของให้เขาอิโตน

                             กะมี แต่ก่อนแฮงมีการเอาโลงศพมาแก่ใส่รถหาเสียงและเปิดทอรนีกันแสงพุ้น มันเกินไปครับ
                             บางครั้งนักการเมืองไม่น่ารักเลย มักด่ากันกะมีข้อร้องเรียนหลาย ๆ มา เด็กน้อยทุกมื้อนิ

                             บ่ค่อยมีความอดทน กะบ่รู้ว่าต่อไปนิเขาสิอยู่กันแบบได๋ ชีวิตการครองเรือนสิเป็นแบบได๋
                             ส.ส. กะเอาแต่ครูมาทั้งเมิด ทุกวันนี้การที่จะเป็นนักการเมืองควรเอาเด็กน้อยมานั่งฟังปราศรัย”

                             (สัมภาษณ์ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส., 2562)



                      จากคำาให้สัมภาษณ์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ผู้รับสมัครยังมีพฤติกรรมในทางลับหลายอย่างที่ไม่เปิดเผย
             ข้อมูลที่แท้จริงในแง่ของ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การจ้างหัวคะแนนเมื่อมีการสอบถามถึงข้อมูลพฤติกรรมดังกล่าว

             จะเป็นในลักษณะคำาตอบที่ไม่สามารถตอบได้ หรือตอบว่าไม่รู้ และการเงียบในที่สุด อย่างไรก็ตาม ขัดแย้งกับ
             คำาให้สัมภาษณ์ของประชาชนที่บอกว่าตนเองได้รับเงินจำานวน 500 บาท ต่อ 1 เบอร์ และเป็นที่น่าสังเกตว่า

             ประชาชน 1 คนจะได้รับเงินจากหัวคะแนนไม่เกิน 1 -2 เบอร์เท่านั้น เนื่องจากหัวคะแนนจะเป็นผู้ที่มีความสำาคัญ
             ที่จะสามารถคาดเดาได้ว่าใครจะลงคะแนนให้กับผู้สมัครรายนั้นหรือไม่






             4.3 บทบำทของหน่วยงำนภำครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสำธำรณะ


             และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ำมำมีบทบำทที่เกี่ยวข้องกับกำรเลือกตั้งสมำชิก

             สภำผู้แทนรำษฎรในเขตจังหวัดกำฬสินธุ์



                      หน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทสำาคัญในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
             สามารถแบ่งออกเป็น 2 บทบาทที่สำาคัญคือ บทบาทผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักกับการเลือกตั้งตามกฎหมาย และ

             บทบาทผู้เกี่ยวข้องรองการเลือกตั้งในพื้นที่จริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                     4.3.1 บทบำทผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลักกับกำรเลือกตั้งตำมกฎหมำย



                      การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ภายใต้

             การกำากับของรัฐบาลคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้กำาหนดหรือวางหลักการทั้งหมดเกี่ยวกับ
             การเลือกตั้งที่ผ่านมา เพื่อทำาหน้าที่ควบคุมและดำาเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
             นอกจากนี้ การทำางานระดับพื้นที่จะมีคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาเขตการเลือกตั้ง และหน่วยที่เล็กที่สุดคือ

             คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการเลือกตั้งในทุกหน่วย

             เลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งกำาหนดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             พ.ศ. 2561 กำาหนดที่มาเจ้าพนักงานจัดการเลือกตั้งและบทบาทของคณะกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้ง ดังนี้
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89