Page 111 - kpiebook63007
P. 111
111
กลุ่มประชาชนที่ไม่สนใจตัวผู้สมัครในพื้นที่ แต่ตัดสินใจเลือกที่พรรคการเมือง นโยบายของพรรค ทิศทางของ
พรรคที่สังกัด และหัวหน้าพรรคการเมือง 4. ประชาชนที่ปัจจัยเรื่องเงินเป็นใหญ่ หมายถึง กลุ่มประชาชน
ที่ยังเห็นว่า เงินยังเป็นปัจจัยสำาคัญที่จะตัดสินใจเลือก ด้วยวัฒนธรรมที่แสดงถึงนำ้าใจผู้สมัครว่ามีนำ้าใจกับตนหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การใช้เงินเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถทำาให้ผู้สมัครหลายคนชนะการเลือกตั้ง ด้วยเพราะปัจจัย
สำาคัญของการชนะการเลือกตั้งยังคงถูกเชื่อมโยงกับตัวผู้สมัครด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนกลุ่มนี้ยังกล่าวว่า
เงินเป็นเพียงปัจจัยเสริม เงินไม่ใช่ปัจจัยหลักต่อการลงคะแนนเสียง แต่ต้องมีประกอบกันเพื่อแสดงถึงนำ้าใจ
ผลการศึกษานี้ได้สอดคล้องกับการศึกษาของ สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ (2554) ได้ศึกษาเรื่อง การเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร พ.ศ. 2554 : ศึกษาบทบาทพรรคการเมืองและพฤติกรรมและการตัดสินใจของประชาชน
ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจ
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่ได้สนับสนุนว่า
การศึกษาทัศนคติและความเข้าใจต่อการซื้อเสียง การรับผลประโยชน์ตอบแทนเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลให้
พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนมีความแตกต่างจากในอดีต พบว่า ทัศนคติของประชาชนกับการซื้อสิทธิ
ขายเสียง มีข้อสังเกตคือ พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยถูกพูดถึงกันว่าเป็นพื้นที่
ที่มีการซื้อสิทธิขายเสียงกันอย่างกว้างขวาง แต่ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่เคยเป็นพื้นที่ถูกพิจารณามีการซื้อสิทธิขายเสียงกันอย่างกว้างขวางกลับมีสัดส่วนของประชาชนที่ตอบว่า
ไม่จำาเป็นต้องเลือก มากกว่าประชาชนในภาคกลางและภาคใต้ ที่มักถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นที่ที่การซื้อเสียงมี
อิทธิพลต่อการตัดสินใจน้อยกว่า และผลการวิจัยอีกประการที่พิจารณาจากทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่
อาศัยอยู่ในเขตชนบทหลายพื้นที่จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างในเขตชนบทที่อาศัยอยู่ในภาคใต้
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วน ตอบว่า “ไม่จำาเป็นต้องเลือก” สูงกว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างในเขตเมือง
การศึกษาวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเงินเป็นเพียงองค์ประกอบที่ต้องมีคู่กับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่
พรรคการเมืองที่สังกัด คุณสมบัติของผู้สมัคร ชื่อเสียง ผลงานในอดีต และมีปัจจัยเรื่องเงินมาประกอบ เพื่อแสดง
นำ้าใจกับประชาชนเท่านั้น
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ข้อเสนอแนะเพื่อกำรวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งรวมถึงกลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของนักการเมือง
ระดับท้องถิ่นที่กำาลังจะมีการเลือกตั้งเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมและกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อหาความเชื่อมโยง
กับการเลือกตั้งระบบประเทศจะทำาให้ผลการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเลือกตั้งมีความชัดเจนและครอบคลุม
ทุกมิติมากขึ้น