Page 109 - kpiebook63007
P. 109

109








                  ทำาให้คอการเมืองวิเคราะห์ผลคะแนนที่จะออกมาไม่ถูก แต่เมื่อผลคะแนนออกมาความศรัทธาต่อพรรคเพื่อไทย

                  ยังไม่จางหาย มีคะแนนชนะพรรคพลังประชารัฐกว่า 2 หมื่นคะแนน ซึ่งจากผลคะแนนที่ออกมายังสะท้อนผล
                  จากการย้ายพรรค ส่งผลต่อคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างมาก สอดคล้องกับการศึกษาของ สิริพรรณ

                  นกสวน สวัสดี และคณะ (2554) ที่ได้ศึกษาเรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร พ.ศ. 2554 : ศึกษา
                  บทบาทพรรคการเมืองและพฤติกรรมและการตัดสินใจของประชาชน ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง

                  ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่ได้สนับสนุนว่า คุณสมบัติของพรรคการเมือง นโยบายพรรค

                  และผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีความสำาคัญต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า
                  คุณสมบัติที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือกคือ คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง อาทิ การแสดงความซื่อสัตย์

                  สุจริต และในส่วนของคุณสมบัติของพรรคการเมือง อาทิ การคัดเลือกผู้สมัครที่ชื่นชอบ นโยบายที่จูงใจ นอกจากนี้
                  ยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่า การแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นคุณสมบัติ

                  ที่มีความสำาคัญมากที่สุดของพรรคการเมือง คุณสมบัติของพรรคการเมืองรองลงมาที่ประชาชนให้ความสำาคัญ
                  เป็นอันดับสอง คือ ความมีประสบการณ์และผลงานในการบริหารประเทศ และการนำาเสนอนโยบายที่จูงใจ

                  ที่ในอดีตเคยมีความสำาคัญกลับถูกลดทอนลง


                          การศึกษาพฤติกรรมเลือกตั้ง 2562 จึงแสดงให้เห็นว่า ชัยชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
                  ในปี 2562 พรรคเพื่อไทย มีความผูกพันและได้รับความนิยมสูงสุดในทุกเขตการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง

                  มีผลต่อการตัดสินใจกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์


                          2)  รูปแบบกำรรณรงค์หำเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ไม่เป็นตัว

                  ตัดสินต่อกำรแพ้ชนะ


                          รูปแบบการหาเสียงและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้รูปแบบที่

                  เรียกได้ว่าเป็น แบบแผนเดียวกันที่ถูกสอนในกลุ่มนักการเมืองซึ่งความเข้มข้นมากน้อย และจุดเน้นจะแตกต่าง
                  กันไปตามนโยบายของพรรค แนวทางของพรรค รวมถึงความเชี่ยวชาญและความถนัด ทำาให้ผู้สมัครในทุกเขต
                  การเลือกตั้งจากทุกพรรคการเมืองใช้วิธีการรูปแบบเดียวกัน คือ การติดป้ายหาเสียง การปราศรัยหาเสียง

                  ทั้งเวทีเล็กใหญ่เป็นวิธีการที่สามารถสื่อสารกับประชาชนได้ในคราวละจำานวนมาก การลงพื้นที่พบปะประชาชน

                  การลงพื้นที่ในรูปแบบเคาะประตูบ้านเป็นกลยุทธ์ที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจาก
                  วัฒนธรรมความเป็นพี่น้องเครือญาติที่ถูกปลูกฝังมาอย่างยาวนานการใช้รถแห่ประชาสัมพันธ์ การใช้รถแห่
                  หาเสียง ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ทั้งหมดอยู่ในรูปแบบรถกระบะเพราะสะดวกไปได้ทุกที่ โดย ผู้สมัครยืนปราศรัย

                  บนรถกระบะพร้อมชูป้ายหาเสียง จนเป็นเอกลักษณ์ที่คุ้นตาในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้สื่อช่องทางออนไลน์

                  ในการหาเสียง เมื่อเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้า จึงทำาให้มีการนำาเทคโนโลยี โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์
                  Facebook, Twitter, YouTube มาประยุกต์ใช้ในการหาเสียงหรือกิจกรรมทางการเมือง ช่องทางเหล่านี้ไม่เพียง
                  แต่จะทำาให้การติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังถูกฝ่ายการเมืองนำามาประยุกต์ใช้ในการ
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114