Page 106 - kpiebook63007
P. 106

106      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์








                      3) พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์


                      พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์ จากการศึกษา

             ข้อมูลเชิงพื้นที่จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย การสังเกต สามารถสรุปพฤติกรรมของผู้รับสมัครเลือกตั้ง
             ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ออกเป็น 2 รูปแบบคือ 1) พฤติกรรมแบบเปิดเผย 2) พฤติกรรมแบบลับ


                      4) บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่นๆ

             ที่เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์


                      หน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทสำาคัญในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
             สามารถแบ่งออกเป็น 2 บทบาท ที่สำาคัญคือ 1.บทบาทองค์กรหลัก คือ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562

             ที่ผ่านมา มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ภายใต้การกำากับของรัฐบาลคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

             (คสช.) เป็นผู้กำาหนดหรือวางหลักการทั้งหมดเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ผ่านมา เพื่อทำาหน้าที่ ควบคุมและ
             ดำาเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม นอกจากนี้ การทำางานระดับพื้นที่จะมีคณะกรรมการ
             การเลือกตั้งประจำาเขตการเลือกตั้ง และหน่วยที่เล็กที่สุดคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาหน่วยเลือกตั้ง

             ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการเลือกตั้งในทุกหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งกำาหนดพระราชบัญญัติประกอบ

             รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และ 2. บทบาทองค์กรรอง ซึ่งการเคลื่อนไหว
             ของหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนสำาคัญในการดำาเนินการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนใหญ่
             จะเป็นการดำาเนินการตามกฎหมาย โดยมีองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ดำาเนินการตามกรอบที่กฎหมายกำาหนด อย่างไรก็ตาม

             ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มีองค์กรอื่นนอกเหนือจากองค์กรหลักได้เข้ามามีส่วนเคลื่อนไหวสำาคัญ คือ บทบาท

             ข้าราชการในพื้นที่ที่ไม่เป็นกลางในการเลือกตั้ง และบทบาทของบทบาทสถาบันการศึกษาในพื้นที่ คือ มหาวิทยาลัย
             กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการรณรงค์การออกไป
             ใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยผ่านสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ด้วยการรณรงค์ในพื้นที่เพียง

             เล็กน้อยภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น


                      5) การเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน
             และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์


                      ประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ กล่าวคือ


                      1.  ประชาชนระดับบน เป็นกลุ่มประชาชนที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการเมือง มีการศึกษา

                          ข้อมูลรอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมถึงกลุ่มที่มีความชอบส่วนตัวกับพรรคการเมืองหรือ
                          ผู้สมัคร การชี้นำาโดยกลุ่มคนหรือกลยุทธ์การหาเสียงจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจมากนัก


                      2.  ประชาชนระดับกลาง เป็นประชาชนที่ชอบที่ความเป็นปัจเจกของผู้สมัครในพื้นที่ ด้วยบุคลิก ภาพ

                          ลักษณ์ การทำางานคลุกคลีกับประชาชน ความชอบในนโยบายและการทำางานของผู้สมัครในพื้นที่
                          ทำาให้ประชาชนตัดสินใจเลือก
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111