Page 110 - kpiebook63007
P. 110

110      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์








             สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมาย จนอาจเรียกได้ว่า “การเคาะประตูบ้านผ่านสื่อออนไลน์” โดยผ่านฐานข้อมูลส่วนตัว

             เช่น อีเมล์ SMS หรือ Social Media นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบหัวคะแนน และการใช้สื่อสาธารณะ ได้แก่
             แผ่นพับ บัตรยำ้าเบอร์ ป้ายคัตเอาต์ ป้ายโฆษณา แบนเนอร์ ไวนิล เพลงโฆษณาหาเสียง จากกลยุทธ์ทั้งหมด

             เป็นกลยุทธ์ที่ได้มีการศึกษาในงานวิจัยที่หลากหลาย จากการถอดบทเรียนจากผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม
             กลยุทธ์ที่ผู้รับสมัครเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ใช้นั้น สอดคล้องกับการศึกษาของ พิศาล พันธเสนีย์

             (2552) ที่กล่าวว่า กลยุทธ์หาเสียงที่สำาคัญประกอบด้วย 1. กลยุทธ์การใช้ป้ายหาเสียง 2. กลยุทธ์การสื่อสาร
             ด้วยคำาขวัญ 3. กลยุทธ์ นโยบายหาเสียง 4. กลยุทธ์การใช้หัวคะแนน 5. กลยุทธ์เดินหาเสียงแสดงตน

             6. กลยุทธ์การปราศรัย 7. กลยุทธ์การโต้วาที 8. กลยุทธ์การอยู่ร่วมกับประชาชน 9. กลยุทธ์การใช้สติ๊กเกอร์
             หาเสียง 10. กลยุทธ์รถโฆษณาประกอบเพลงหาเสียง 11. กลยุทธ์เสื้อแดงเพื่อไทย 12. กลยุทธ์ชื่อเสียง

             วงศ์ตระกูล และสอดคล้องกับการศึกษาของ กาญจนา แสนศาลา (2550) ได้ศึกษากลวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง
             ของผู้ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 : กรณีศึกษาผู้ชนะการเลือกตั้ง

             ในจังหวัดเลย ผลการวิจัยพบว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ชนะการเลือกตั้ง มีกลวิธีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ดังนี้
             1. การหาเสียงแบบเป็นทางการ ได้แก่ การโฆษณาหาเสียงด้วยการติดป้ายโฆษณา โปสเตอร์ แจกจ่ายแผ่นพับ

             ใบปลิว แนะนำาตัวเอง โดยการเน้นชื่อ หมายเลข ผลงานของตนเองและเครือญาติที่เคยเป็น ส.ส. มาก่อน
             นำาเสนอนโยบายพรรค สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับตนเอง ใช้รถแห่ หาเสียงทุกวันก่อนการเลือกตั้ง 1 เดือน จัดเวที

             ปราศรัยหาเสียงครอบคลุมพื้นที่เลือกตั้ง เน้นผลงานเดิมของตนเองและเครือญาติ นำาเสนอนโยบายพรรคที่เคย
             ประสบความสำาเร็จ ใช้วิธีเคาะประตูบ้านเพื่อพบปะประชาชนให้ครบทุกหลังคาเรือน ประชาสัมพันธ์นโยบายผ่าน

             วิทยุท้องถิ่น และ 2. กลวิธีการหาเสียงแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ การให้บริการ ช่วยเหลือ อุปถัมภ์ การอำานวย
             ความสะดวกให้กับประชาชนก่อนการประกาศให้มีการเลือกตั้ง มีการจัดระบบเครือข่ายหัวคะแนน ในพื้นที่และ

             หัวคะแนนในพื้นที่ใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อตัดคะแนนฝ่ายตรงข้ามรวมทั้งการใช้กลวิธีการด้านการเงิน


                      จากข้อมูลการศึกษาวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
             ที่เหมือนกัน ไม่เป็นตัวตัดสินต่อการแพ้ชนะในการเลือกตั้ง 2562


                     3) เงินไม่ไช่ปัจจัยส�ำคัญต่อกำรตัดสินใจเลือกของประชำชนในพื้นที่จังหวัด

             กำฬสินธุ์



                      ผลการศึกษาประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุพบว่าประชาชนแบ่งออกเป็น 4 ระดับ กล่าวคือ
             1. ประชาชนระดับบน เป็นกลุ่มประชาชนที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการเมือง มีการศึกษาข้อมูลรอบด้าน
             เพื่อประกอบการตัดสินใจ รวมถึงกลุ่มที่มีความชอบส่วนตัวกับพรรคการเมือง หรือผู้สมัคร การชี้นำาโดยกลุ่มคน

             หรือกลยุทธ์การหาเสียงจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจมากนัก 2. ประชาชนระดับกลาง เป็นประชาชนที่ชอบความ

             เป็นปัจเจกของผู้สมัครในพื้นที่ ด้วยบุคลิก ภาพลักษณ์ การทำางานคลุกคลีกับประชาชน ความชอบในนโยบาย
             และการทำางานของผู้สมัครในพื้นที่ทำาให้ประชาชนตัดสินใจเลือก 3. ประชาชนที่ตัดสินใจเพราะนโยบาย คือ
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115