Page 112 - kpiebook63007
P. 112
112 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์
2. ควรศึกษาถึงปัจจัยความผูกพันระหว่างพรรคเพื่อไทยและผู้สมัครในเขตต่าง ๆ กับประชาชน
ในจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้เกิดข้อมูลเชิงลึกในประเด็นดังกล่าว
3. ควรมีการศึกษาโดยใช้ แนวคิดเรื่องการตลาดทางการเมือง (Political Marketing) เพื่อศึกษา
ความสนใจเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง การนำาเสนอนโยบายและ ภาพลักษณ์ของผู้สมัครในปัจจุบันเปรียบเสมือน
การแข่งขันการขายสินค้าทางการเมืองของตนเอง ซึ่งจะทำาให้พบข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการ
ช่วงชิงคะแนนเสียงและพบกลยุทธ์ใหม่ด้วย
5.3.2 ข้อเสนอแนะเพื่อกำรพัฒนำกำรเลือกตั้งในจังหวัด
1. ผู้สมัครยังให้ความสำาคัญกับการหาเสียงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย (Social Media)
ไม่มากพอเมื่อเทียบกับจำาผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ต เนื่องด้วยผู้สมัครส่วนหนึ่งอายุมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคน
รุ่นใหม่ที่กำาลังให้ความสำาคัญกับการเมือง เมื่อการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่
ได้ทำาให้การรับรู้ข้อมูลของผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงยังเข้าไม่ถึงกลุ่มคนกลุ่มนี้ ดังนั้นสื่ออินเตอร์เน็ตและสังคม
ออนไลน์จะมีความสำาคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งหากผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถใช้สื่ออินเตอร์เน็ตได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและน่าสนใจ ทำาให้มีโอกาสที่จะได้คะแนนเสียงจากคนกลุ่มนี้จนนำาไปสู่ชัยชนะการเลือกตั้งได้
2. ควรปรับกลยุทธ์การหาเสียงรูปแบบใหม่ที่สามารถสร้างเอกลักษณ์ ให้เป็นที่น่าสนใจและแตกต่าง
ยังไม่เคยเกิดขึ้นในจังหวัดกาฬสินธุ์มาก่อน ที่ผ่านมายังคงเป็นการหาเสียงรูปแบบเดิม ๆ ทำาให้กลุ่มคนที่เบื่อหน่าย
การเมืองและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจการเมือง หันหลังให้กับการเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิ์