Page 9 - kpiebook63006
P. 9

9








                          บริบททางการเมือง การเลือกตั้งครั้งนี้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ใช้ระบบเลือกตั้ง

                  แบบจัดสรรปันส่วนผสม ทำาให้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตมากกว่า 30 คน รวมทั้งสิ้น 269 คน
                  สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่การเลือกตั้งปี 2554 มีผู้สมัครรวมทุกเขตเพียง 31 คนเท่านั้น เนื่องจาก

                  พรรคการเมืองต่างๆ ล้วนต้องการคะแนนเพื่อนำาไปคำานวณเป็นคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ การมี
                  ผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็นจำานวนมากนี้ สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล

                  ในประเด็นที่ผู้เลือกมีทางเลือกเป็นจำานวนมากในการตัดสินใจเลือกตัวแทนของตน อีกทั้งพรรคการเมือง
                  หลายพรรคต่อสู้แข่งขันกันอย่างจริงจัง โดยหวังที่จะชนะเลือกตั้งแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ

                  เนื่องจากประเมินว่าพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะไม่สามารถครองความนิยมอย่างแนบแน่นเหมือนในอดีต
                  เพราะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพรรค ทำาให้เกิดกระแสความเบื่อหน่ายต่อพรรคประชาธิปัตย์ เช่น

                  การไม่แสดงบทบาทเป็นตัวแทนประชาชนของผู้สมัครที่เป็นอดีตส.ส. ในการเป็นกระบอกเสียงนำาเสนอ
                  ปัญหาต่อรัฐบาลคสช. โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าเกษตรตกตำ่า อาทิ ยางพารา ปาล์มนำ้ามัน

                  การขาดความเป็นเอกภาพในพรรคประชาธิปัตย์ทั้งในระดับชาติ หลังจากการแข่งขันเลือกตั้งหัวหน้าพรรค
                  และในระดับท้องถิ่น ที่เกิดปัญหาการจัดตัวผู้สมัครลงเลือกตั้งในระบบเขตหลายเขต ความรู้สึกเบื่อหน่าย

                  ต่อการส่งทายาทนักการเมืองเป็นผู้ลงสมัคร


                            นอกจากนี้ ประเด็นจุดยืนทางการเมืองก็มีผลในทางการเมืองเช่นเดียวกัน เมื่ออภิสิทธิ
                  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประกาศไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ

                  ให้เป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคพลังประชารัฐ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง ความนิยมที่มีต่อ
                  พรรคประชาธิปัตย์ก็ลดน้อยลง ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้งโดยพรรคพลังประชารัฐได้รับอานิสงส์

                  จากประเด็นนี้ ทำาให้ชนะเลือกตั้งถึง 4 เขต ทั้งๆ ที่ผู้สมัครไม่ได้มีคุณสมบัติที่โดดเด่นแต่อย่างใด ดังนั้น
                  เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนในการเลือกตั้งครั้งก่อนจึงพบว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะเลือกตั้ง

                  3 เขต มาจากคะแนนนิยมส่วนตัวในขณะที่คะแนนความนิยมที่เคยมีต่อพรรค ได้เปลี่ยนแปลงไปยัง
                  พรรคอื่นๆ โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ


                          บริบททางเศรษฐกิจ การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นในบรรยากาศที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกตำ่า
                  ส่งผลกระทบต่อการดำาเนินชีวิตของประชาชนในวงกว้าง ผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ มีผู้ซื้อลดน้อยลง

                  บางแห่งต้องประกาศปิดกิจการหรือขายกิจการ ผู้ประกอบอาชีพการเกษตรเช่น ยางพารา ปาล์มนำ้ามัน

                  มีราคาตกตำ่า บริบททางเศรษฐกิจนี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับข้อที่ 1 ในแง่ที่ทำาให้การเลือกตั้งครั้งนี้
                  มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำานวนมาก เพื่อนำาเสนอนโยบายของพรรคตนเองเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
                  เศรษฐกิจหากชนะเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล


                          บริบททางสังคม การเลือกตั้งครั้งนี้มีความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ในด้านบริบท

                  ทางสังคมนั้น เกิดผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรกจำานวนมาก เนื่องจากห่างเหินจากการเลือกตั้งยาวนาน
                  ถึง 8 ปี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกนี้ที่มีอายุ 18 ปี ยังคงไม่มีความผูกพันกับพรรคการเมืองใด โดยเฉพาะ

                  พรรคประชาธิปัตย์ที่ผูกขาดความนิยมในพื้นที่สงขลา เนื่องจากเมื่อ 8 ปีที่แล้วเพิ่งมีอายุเพียง 10 ขวบ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14