Page 7 - kpiebook63006
P. 7

7








                            ในส่วนของจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความสำาคัญของภาคใต้ นับตั้งแต่

                  การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่าการเลือกตั้งปี 2535/2 เนื่องจาก
                  ในปีนั้นมีการเลือกตั้งถึง 2 ครั้ง จนกระทั่งล่าสุดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรค

                  ประชาธิปัตย์ครองความนิยมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทุกเขตเลือกตั้ง แต่ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม
                  2562 ภายใต้ระบบการเลือกตั้งใหม่นี้ ได้ก่อให้เกิดพรรคการเมืองที่เสนอตัวส่งผู้สมัครในพื้นที่จังหวัดสงขลา

                  มากกว่า 30 พรรค จำานวนผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้งมากกว่า 30 คน สูงสุดเป็นประวัติการณ์มากกว่า
                  การเลือกตั้งครั้งใด พรรคการเมืองเหล่านี้หลายพรรคดำาเนินงานทางการเมืองอย่างแข็งขัน โดยหวังที่

                  จะเอาชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ที่พรรคการเมือง
                  ต่างๆ ไม่ได้ทำากิจกรรมทางการเมืองอย่างจริงจัง เพราะไม่เชื่อมั่นว่าพรรคของตนเองจะสามารถเอาชนะ

                  พรรคประชาธิปัตย์ได้


                            อีกทั้ง จากการสังเกตและสำารวจจากสื่อมวลชนทั้งระดับชาติและท้องถิ่นพบว่า ประชาชน
                  มีความตื่นตัวทางการเมืองสูง ต้องการการเลือกตั้งเพราะว่างเว้นมาอย่างยาวนานถึง 8 ปี โพลล์สำารวจ

                  ความคิดเห็นทางการเมืองจากสื่อมวลชนในพื้นที่ พบว่าประชาชนจะตัดสินใจเลือกโดยพิจารณาจาก
                  นโยบายของพรรค ต้องการเลือกผู้สมัครใหม่ พรรคการเมืองใหม่ในสัดส่วนที่สูงกว่าพรรคการเมืองเดิม

                  ในอดีต ย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจังหวัดสงขลา






                  วัตถุประสงค์



                           1.   เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัคร
                                รับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา


                           2.   เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางการเมือง
                                แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน และกลุ่มการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ

                                การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา

                           3.   เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก
                                สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา


                           4.   เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัย
                                ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา

                                ผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12