Page 6 - kpiebook63006
P. 6

6    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา












                                บทสรุปผู้บริหำร


















             ความเป็นมาและความส�าคัญของการศึกษา



                      การเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเป็น

             รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นภายใต้บรรยากาศหลังการรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำาโดย
             พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและขึ้นดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

             ฉบับนี้มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญ
             ฉบับปี 2540 ในด้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อมีการใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม

             (Mixed Member Apportionment system หรือ MMA) เป็นครั้งแรก ระบบเลือกตั้งใหม่นี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
             ลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว เป็นการเลือกผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้งเขตละ 1 คน ส่วนส.ส.

             ในระบบบัญชีรายชื่อพรรค (party list) มาจากการนำาคะแนนจากการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
             มาคำานวณหาจำานวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ

             ที่รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ที่ใช้ระบบคู่ขนานระหว่างเขตและสัดส่วน (parallel system) มีบัตรเลือกตั้ง
             2 ใบ ใบหนึ่งเลือกส.ส.ในระบบเขต เขตละ 1 คน อีกใบหนึ่งเลือกส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อโดยใช้ประเทศ

             เป็นเขตเลือกตั้ง การคิดคะแนนหาผู้ชนะเลือกตั้งก็แยกออกจากกันด้วย

                      นอกจากนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ยังเป็นการเลือกตั้งที่ห่างจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อปี 2554

             ยาวนานถึง 8 ปี บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ด้านการเมือง

             เช่นบรรยากาศทางการเมืองภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร การมีรัฐธรรมนูญ
             ใหม่ซึ่งกำาหนดระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ที่แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ความตื่นตัวของประชาชน
             ที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (first voter) ซึ่งเป็นเยาวชนคนหนุ่มสาวที่มีวิถีชีวิต

             หรือไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน ด้านเศรษฐกิจเกิดภาวะความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ ด้านสังคม

             เช่น การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (social media) อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำาวัน รวมถึงการแลกเปลี่ยน
             ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ดังนั้นการเลือกตั้งในครั้งนี้จึงมีความน่าสนใจในการศึกษาวิจัย เพื่อให้เห็นถึง
             พัฒนาการของการเมืองไทยในด้านการเลือกตั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการเมืองไทย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11