Page 52 - kpiebook63005
P. 52

51








                  ยกเลิกการห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป 94


                            นอกจากนี้ ความคลุมเครือที่เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสร้างความเคลือบแคลงให้กับสังคมและ

                  ถูกมองว่าเป็นการเอาเปรียบทางการเมือง เช่น พล.อ.ประยุทธ์ใช้อำานาจมาตรา 44 ออกคำาสั่งที่ 53/2560
                  กำาหนดให้ แม้พรรคการเมืองเก่าที่จดทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้จะยังคงอยู่ แต่ต้องให้สมาชิกพรรคการเมืองยืนยัน

                  การเป็นสมาชิกและชำาระเงินบำารุงพรรคใหม่หรือเรียกว่าเป็นการรีเซ็ตสมาชิกพรรคการเมือง ผลที่ตามมาทำาให้
                  ทุกพรรคการเมืองมีสมาชิกลดลง เช่น พรรคประชาธิปัตย์ เดิมมีสมาชิก 2,500,000 คน แต่ต้องเหลือสมาชิก

                  100,000 คน หรือลดลงร้อยละ 96 หรือ พรรคเพื่อไทย เดิมมีสมาชิก 134,822 คน แต่ต้องเหลือสมาชิก
                  13,000 คน หรือลดลงร้อยละ 90 แม้ทั้งสองพรรคการเมืองยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงคำาสั่งดังกล่าวว่า

                                                                                         95
                  ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ยืนยันถึงความชอบของคำาสั่งดังกล่าว  รวมถึง ข้อเสนอของ
                  พล.อ.ประยุทธ์ที่ให้ใช้บัตรเลือกตั้ง โดยใช้ชื่อของผู้สมัครกับเบอร์ โดยไม่มีโลโก้พรรคการเมืองและชื่อ

                                     96
                  พรรคการเมืองปรากฏ  ขณะที่ กกต. วางกฎให้เบอร์ของผู้สมัคร ในแต่ละเขตไม่เหมือนกัน แม้จะสังกัด
                  พรรคเดียวกัน ซึ่งยากต่อการจดจำาเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งทุกครั้งก่อนหน้านี้ ไม่เพียงเท่านั้น คสช.

                  ได้ใช้คำาสั่งมาตรา 44 เพื่อให้ทาง กกต. ออกแบบเขตเลือกตั้งได้ใหม่ โดยไม่ต้องเลือกรูปแบบก่อนหน้านี้
                  ที่ผ่านการหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ หลายฝ่ายจึงระบุว่านี่คือ “การแบ่งเขตเลือกตั้ง

                  แบบอยุติธรรม” หรือ “การแบ่งเขตเลือกตั้ง เพื่อจะให้พรรคที่ตนเองเชียร์อยู่ ได้เปรียบหรือเป็นฝ่ายชนะ
                                        97
                  ขึ้นมา” (Gerrymandering)  สามารถพบข่าวถึงจังหวัดที่มีการแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นไปอย่างน่ากังขา เช่น
                  จังหวัดสุโขทัย นครราชสีมา เป็นต้น


                          อุปสรรคอันเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองจำานวนมากได้ส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งเช่นกัน เช่น
                  พรรคการเมืองใหม่จะต้องมีผู้ริเริ่ม 500 คน มีเงินทุนประเดิม 1,000,000 บาท และตั้งสาขาพรรคหรือ
                  ผู้แทนพรรคประจำาเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อพรรคการเมืองใหม่ ต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550

                  ที่ใช้ผู้ริเริ่มก่อตั้งพรรคเพียง 15 คนและไม่ต้องมีทุนประเดิมขั้นตำ่า, นโยบายหาเสียงที่แต่ละพรรคการเมือง

                  นำาเสนอจะต้องแสดงรายละเอียด เช่น วงเงินที่ต้องใช้ ที่มาของเงิน ความคุ้มค่า ประโยชน์ ผลกระทบและ
                  ความเสี่ยงในการดำาเนินนโยบาย, การห้ามผู้สมัครรับเลือกตั้งผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสถานี
                  วิทยุ หากต้องการประชาสัมพันธ์ตนเองผ่านวิทยุ ต้องแจ้งให้ กกต. ทราบ โดย กกต. จะจัดหาสถานีและ

                  ดำาเนินการตามระเบียบให้ หรือ ผู้สมัครทุกคนต้องแจ้งชื่อผู้ช่วยหาเสียงให้ กกต. ทราบ และต้องดำาเนิน

                  กิจกรรมหาเสียงในด้านต่างๆ ตามระเบียบที่ กกต.กำาหนด, ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตใช้เงินได้ไม่เกิน
                  คนละ 1,500,000 บาท, การห้ามมิให้นักแสดง นักร้อง นักดนตรีใช้ความสามารถส่วนตัวเพื่อช่วยหาเสียง,



                  94  “ม.44 สั่งปลดล็อกแล้ว” ข่าวสด, 13 ธันวาคม 2561 หน้า 10,11
                  95  ILaw, “เลือกตั้ง 62: สมัคร ส.ส. ยุคนี้แสนลำาบาก หาเสียงยากข้อจำากัดมากมาย” (18 กุมภาพันธ์ 2562) https://
                  ilaw.or.th/node/5157 (เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2562)
                  96  “รุมถล่มประยุทธ์ แทรกแซงกกต.! คุมบัตรเลือกตั้ง” ไทยโพสต์, 9 ธันวาคม 2561 หน้า 1,10
                  97  Doungchampa Spencer-Isenberg, “ทำาความเข้าใจกับการออกแบบเขตเลือกตั้งแบบ Gerrymandering ” ประชาไท,
                  20 พฤศจิกายน 2561 https://prachatai.com/journal/2018/11/79690 (เข้าถึงเมื่อ 21 ธันวาคม 2561)
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57