Page 27 - kpiebook63001
P. 27
9
2.1 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดร้อยเอ็ด
เมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนในด้าน
การปกครองนั้น ร้อยเอ็ดเคยเป็นศูนย์กลางบริหารอีสานตอนล่างและตอนกลางมาตั้งแต่ พ.ศ. 2435
สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีการยุบมณฑล
1
ต่างๆ ส่งผลให้มณฑลร้อยเอ็ด จึงถูกเปลี่ยนเป็นจังหวัดร้อยเอ็ดจนถึงปัจจุบัน
ด้านขนาดและที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะทางจาก
กรุงเทพฯ ประมาณ 512 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 8,299.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,187,156 ไร่
2
และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ ดังนี้ (ดูภาพที่ 2.1)
ทิศเหนือ ติดกับ อ.กมลาไสย อ.กุฉินารายณ์ อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ และ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดกับ อ.เลิงนกทา อ.กุดชุม อ.เมืองยโสธร และ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
ทิศใต้ ติดกับ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ และ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดกับ อ.วาปีปทุม อ.พยัคฆภูมิพิสัย อ.เมืองสารคาม จ.มหาสารคาม
ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาทางตอนเหนือ ตอนกลางเป็นที่ราบลูกคลื่น ตอนใต้
เป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูล และเป็นที่ราบที่เรียกว่าแอ่งกระทะซึ่งเรียกว่า ทุ่งกุลาร้องให้ ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม
4 อำเภอ ได้แก่ อ.สุวรรณภูมิ อ.เกษตรวิสัย อ.ปทุมรัตน์ และ อ.โพนทราย คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 986,000 ไร่
หรือประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด 3
1 “ประวัติจังหวัดร้อยเอ็ด”, สืบค้นจาก http://www.teerapada.ac.th/pdf/index/roiet.pdf (27 สิงหาคม 2562).
2 “รายงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2560”, สืบค้นจาก www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER38 /DRAWER023/
. ../0 000 00 6 9.PDF (14 มีนาคม 2562).
3 “ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดร้อยเอ็ด”, สืบค้นจาก http://www.retc.ac.th/v3/Information_Education/1.pdf (15 มีนาคม
2562).
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด