Page 32 - kpiebook63001
P. 32
14
แผนภาพที่ 2.1 แสดงการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2560
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
จากแผนภาพที่ 2.1 แสดงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีลักษณะของ
การเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลังรัฐประหาร
เมื่อ ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบันยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในปี พ.ศ. 2559-2560 จะมีอัตรา
การเติบโตลดต่ำลง จากมูลค่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ 26,312.42 ล้านบาท มาอยู่ที่ มูลค่า 25,799.16 ล้านบาท
และเติบโตเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 เป็นต้นมา ซึ่งการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญนี้ ได้รับการตั้งข้อสังเกตว่า
เป็นผลมาจากการสนับสนุนด้านงบประมาณและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจจากภาครัฐเป็นสำคัญ
ไม่ได้เป็นผลมาจากภาคธุรกิจ เนื่องจากร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่ทำการเกษตร เน้นการปลูกข้าวเป็นหลัก และ
10
ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอื่นที่เป็นจุดขาย
ด้านสังคม-วัฒนธรรม
ด้านความหลากหลายของประชากรนั้น จังหวัดร้อยเอ็ดมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ดังนี้
๏ กลุ่มไทย-ลาว เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองเดิม อาศัยทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด
๏ กลุ่มไทย-เขมร เป็นคนที่อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด แต่มีบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายเขมร อยู่ในอำเภอ
สุวรรณภูมิ และเกษตรวิสัย
๏ กลุ่มไทย-ส่วย เป็นคนที่อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด มีเชื้อสายเป็นชาวส่วยหรือกูย อยู่บริเวณอำเภอ
สุวรรณภูมิและอำเภอโพนทราย ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
10 สมเกียรติ ชัยคณารักษ์กูล, อ้างแล้ว.
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด