Page 34 - kpiebook63001
P. 34

16






               ตารางที่ 2.2 แสดงจำนวนประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตามการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต

               และโทรศัพท์มือถือ ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2559 14


                       การใช้เทคโนโลยี                               จำนวน (ร้อยละ)
                   สารสนเทศและการสื่อสาร             2557                2558                2559

                การใช้คอมพิวเตอร์               331,144 (33.25)      321,197 (32.22)     277,682 (27.88)

                การใช้อินเทอร์เน็ต              270,778 (27.19)      293,795 (29.47)     330,372 (33.17)

                การใช้โทรศัพท์มือถือ            693,673 (69.65)     720,7657 (72.29)     762,020 (76.50)


               ข้อมูลเชิงสถิติที่สำคัญเชิงพื้นที่

                     จากรายงานดัชนีความก้าวหน้าของคน (HAI) ปี 2558 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ

               และสังคมแห่งชาติ พบว่า จังหวัดร้อยเอ็ด มีตัวชี้วัดที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีย่อยด้านการศึกษาที่มีค่าเฉลี่ย
               เชาวน์ปัญญา (IQ) ของนักเรียนอายุ 6-15 ปี (ปี 2554) อยู่ในลำดับที่สามจากห้าลำดับแย่สุด (นราธิวาส

               ปัตตานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี สกลนคร ตามลำดับ) ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีความล้าหลังด้านการศึกษา
               อยู่ในลำดับที่ห้าจากห้าจังหวัดล้าหลังที่สุด (หนองบัวลำภู บังกาฬ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ตามลำดับ) เฉพาะ
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ทั้งหมด 20 จังหวัด)


                     นอกจากนี้แล้วในด้านองค์ประกอบของดัชนีย่อยด้านชีวิตการงาน คือร้อยละของแรงงานที่มีประกัน
               สังคมต่อผู้มีงานทำ ปี 2556 (ร้อยละ) อยู่ในลำดับที่สามจากห้าลำดับแย่ที่สุด (ศรีสะเกษ สุโขทัย ร้อยเอ็ด

               กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ตามลำดับ) ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในขณะที่สำหรับจังหวัดร้อยเอ็ด มีตัวชี้วัดที่เป็น
               องค์ประกอบของดัชนีย่อยด้านรายได้ คือร้อยละของครัวเรือนที่มีหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค (ปี 2556)

               อยู่ในลำดับที่สี่จากห้าลำดับแย่สุด (อำนาจเจริญ มหาสารคาม ปทุมธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ตามลำดับ)
               ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตลอดจนเมื่อพิจารณาจากตัวชี้วัดที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีย่อยด้านที่อยู่อาศัยและ
               สภาพแวดล้อม โดยมีประชากรที่ประสบภัยแล้ง ปี 2556 (ร้อยละ) อยู่ในลำดับที่หนึ่งจากห้าลำดับดับแย่สุด

               (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ มหาสารคาม) เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ดี
               เมื่อพิจารณาถึงระดับการพัฒนาตามทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ของจังหวัด

               ร้อยเอ็ดตามดัชนีการพัฒนา (Composite Index) ณ ปี 2557 พบว่า  ได้คะแนนรวมเท่ากับ 3.02 ซึ่งอยู่ใน
               ระดับปานกลาง












               
     14   สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด, อ้างแล้ว, หน้า 133.








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39