Page 22 - kpiebook63001
P. 22

การเลือกตั้งครั้งนี้ ยังถูกคาดหมายไปสู่จุดเริ่มต้นในการบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลากว่า

               ทศวรรษ และการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้แล้วภายใต้กรอบกติกาใหม่นี้
               ยังนำไปสู่คำถามว่า กระบวนการจัดการเลือกตั้งและผลของการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนอกจากจะนำไปสู่ข้อวิพากษ์

                                    5
               วิจารณ์หลายประการแล้ว  ผลที่เกิดขึ้นยังจะยืนยันความตั้งมั่นของระบบพรรคการเมือง และความเข้มแข็งของ
               พรรคการเมืองที่ก่อร่างสร้างตัวมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้หรือไม่


                     จากสถานการณ์และบริบททางการเมืองที่ได้กล่าวมา การเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีนัยสำคัญต่อการเมืองไทย
                          6
               ในด้านต่างๆ   โดยการศึกษานี้ได้ตั้งคำถามต่อรูปแบบและลักษณะของความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ
               การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ที่นำไปสู่การปรับหรือเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางการเมืองทั้งในส่วนของ

               พรรคการเมือง นักการเมือง ประชาชนและกลุ่มการเมืองต่างๆ  แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง
               ของประชาชน และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่สามารถ

               หลีกเลี่ยงการพิจารณาถึงการเติบโตของเทคโนโลยีข่าวสารและสื่อสังคมออนไลน์ ตลอดจนบทบาทของ
               ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก (First Time Voters) จำนวนมากที่จะได้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรกหลังการรัฐประหาร
               ที่ผ่านมา แม้จะอยู่ภายใต้การควบคุมมิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)

               ที่กระทบถึงเสรีภาพในการแสดงออกทั้งจากพรรคการเมือง ผู้สมัคร สื่อมวลชนและประชาชนก็ตาม  7

                     ทั้งนี้ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาของโครงการวิจัยนี้ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออก-
               เฉียงเหนือตอนกลาง ที่ได้รับความสนใจทั้งในเชิงของพฤติกรรมทางการเมืองและการเลือกตั้งของประชาชนที่ได้

               รับการกล่าวถึงปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง หรือ “โรคร้อยเอ็ด” และ “อาจสามารถโมเดล” ในฐานะพื้นที่
               นำร่องศึกษาและแก้ปัญหาความยากจนของคนชนบทในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร   รวมทั้งความเคลื่อนไหว
                                                                                    8
               ทางการเมืองในฐานะหนึ่งในพื้นที่หลักของกลุ่มเสื้อแดง ตลอดจนการปรับตัวของกลุ่มการเมืองต่างๆ ภายใต้
               กลไกการควบคุมของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557
               เป็นต้นมา  นอกจากนี้แล้ว แม้ว่าในอดีตพรรคเพื่อไทยยังคงเป็นพรรคที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจังหวัด

               แต่พรรคการเมืองใหม่ เช่น พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ รวมไปถึงนักการเมืองจากตระกูล
               การเมืองสำคัญในจังหวัดต่างได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี







               
      5   ดูข้อวิจารณ์ต่อผลการเลือกตั้ง ได้ใน Termsak Chalermpalanupap, 2019, Thailand’s Recent Elections:
               Disappointments, Surprises and Non-surprises, Singapore: ISEAS – Yusof Ishak Institute.  ISSUE: 2019 No. 31
               (16 April).
               
      6   ดูตัวอย่างการอธิบายได้ใน Thongchai  Winichakul, 2019, The Significance of March 24 Election in
               Thailand. Retrieved from URL http://hdl.handle.net/2344/00050713 (20 มีนาคม 2560).

               
      7   ความเห็นของ สุณัย ผาสุก ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) ประจำประเทศไทย ใน ดุลยภาค
               ปรีชารัชช และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ), อ้างแล้ว หน้า 29.
               
      8   ธิดามนต์ พิมพาชัย, 2554, ‘จาก “อาจสามารถ” สู่ “บางระกำโมเดล” … ตามกระแส หรือ แก้ปัญหา?’ Retrieved from
               URL  https://www. isranews.org/community/comm-scoop-documentary/3390 (12 มีนาคม 2560).





                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27