Page 21 - kpiebook63001
P. 21
ของพรรคพลังประชารัฐและพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตร ในขณะที่พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามต่างประกาศ
จุดยืนหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารและเรียกร้องให้สนับสนุนพรรคการเมืองที่เรียกตนเองว่า
เป็นฝ่ายประชาธิปไตย
อย่างไรก็ดี นอกจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองดังที่กล่าวมา การประกาศให้มีการเลือกตั้งในเดือน
มีนาคม พ.ศ. 2562 ภายหลังจากที่ประเทศไทยไม่ได้มีการเลือกตั้งติดต่อกันถึงระยะเวลา 8 ปี ยังอยู่ภายใต้
เงื่อนไขที่รัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ที่นำไปสู่การเลือกตั้งที่แตกต่างไปจาก
การเลือกตั้งที่ผ่านมาก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ด้วยการใช้ระบบการจัดสรรปันส่วนผสม (mixed
member apportionment electoral system :MMA) โดยเฉพาะเป็นการเลือกตั้งที่ผู้ลงคะแนนลงคะแนน
3
เลือกนายกรัฐมนตรีตามที่พรรคที่ตนเองลงคะแนนเลือกเป็นผู้เสนอชื่อ รวมไปถึงวิธีการลงคะแนนใน
บัตรเลือกตั้งที่ได้มีการออกแบบขึ้นใหม่ วิธีการคำนวณคะแนนระบบบัญชีรายชื่อพรรค การริเริ่มให้ใช้ระบบ
การเลือกตั้งขั้นต้น (Primary Vote) รวมไปถึงข้อกำหนดในการจัดตั้งพรรคการเมือง หน้าที่และสถานภาพของ
4
สมาชิกพรรคการเมือง และคณะกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งการกำหนดโทษของพรรคการเมืองไว้สูง
มากยิ่งขึ้น ตลอดจนการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองและวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง
ของพรรคการเมือง ในขณะเดียวกันก็ได้มีการกำหนดบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พร้อมกับการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่ออำนาจและ
บทบาทของผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง
เงื่อนไขเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นกติกา หรือบทบัญญัติใหม่ที่เกิดขึ้น ที่จะส่งผลต่อโครงสร้างทางการเมือง
และการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเมืองไทยอีกหลายสถาบัน นอกเหนือจากความท้าทายต่อนักการเมือง
และการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนผ่านการเลือกตั้งจะเป็นที่น่าจับตามองแล้ว การเมืองหลังจาก
3 Duncan McCargo มีความเห็นว่า การใช้ระบบการเลือกตั้งนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ต้องการสร้างระบบการเลือกตั้งที่ลดโอกาสในการครองเสียงข้างมากของพรรคเพื่อไทยและเพิ่มโอกาสให้พรรคการเมืองขนาดเล็ก
สามารถเข้ามาแข่งขันในการเลือกตั้งได้เท่านั้น หากแต่ยังมีเป้าหมายที่จะจำกัดอำนาจของนักการเมืองจากการเลือกตั้งด้วย ดูรายละเอียด
เพิ่มเติมได้ใน Duncan McCargo,2018, “Thailand’s Changing Party Landscape”, ISEAS Perspective ISSUE: 2018 No. 63,
(Singapore : ISEAS - Yusof Ishak Institute).
4 ภายหลังมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2561 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) สาระสำคัญของคำสั่งฉบับนี้ คือ การแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)
ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เพื่อยกเลิกระบบไพรมารีโหวตแบบเดิม ที่คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรค
จะเปิดรับสมัคร ตรวจสอบคุณสมบัติและจะส่งรายชื่อให้ “สาขาพรรคการเมือง” หรือ “ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด”
เพื่อจัดการประชุมให้สมาชิกพรรคลงคะแนนเลือกผู้สมัครตามรายชื่อนั้น โดยคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัคร
รับเลือกตั้ง มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ทั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ แล้วเสนอต่อ
คณะกรรมการบริหารพรรค โดยให้คณะกรรมการสรรหาฯ รับฟังความคิดเห็น จากหัวหน้าสาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมือง
ประจำจังหวัด และสมาชิก มาประกอบการพิจารณาสรรหาด้วย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “คสช. ใช้มาตรา 44 ห้ามหาเสียงออนไลน์-
ยกเลิกไพรมารี่โหวต”, Retrieved from URL https://ilaw.or.th/node/4978 (10 มีนาคม 2562).
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด