Page 25 - kpiebook63001
P. 25
7
หรือเครือข่ายของนักการเมืองเก่า ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และผลการเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ครั้งในเขต
จังหวัดที่กำหนด
4.2 การสัมภาษณ์ โดยมีการลงพื้นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง บริษัทเอกชนและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ผู้จัดการการเลือกตั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สื่อมวลชน และประชาชนในฐานะผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมทั้ง
เครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัด ตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายประชาชนตรวจสอบการเลือกตั้ง
4.3 การประชุมกลุ่มย่อย ผู้นำชุมชนและผู้มีบทบาทในการรณรงค์หรือช่วยหาเสียงเลือกตั้ง
4.4 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม โดยเป็นการสังเกต บันทึก และวิเคราะห์บรรยากาศ
ทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรมทาง
การเมืองของประชาชน ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(1) ทราบถึงบรรยากาศทั่วไป ความรู้ความเข้าใจ และความเคลื่อนไหวของประชาชน คณะกรรมการ
เลือกตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคการเมืองและนักการเมืองในพื้นที่ องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ
และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) ทราบถึงบทบาทและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับต่าง ๆ รวมถึงปัญหาอุปสรรค
และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(3) ทราบถึงพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานภาครัฐ
บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร
(4) ทราบถึงแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร
(5) ทราบถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้ง
(6) ทราบถึงการตั้งมั่นของสถาบันพรรคการเมืองในสังคมไทย ในบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด