Page 23 - kpiebook63001
P. 23
5
เมื่อเป็นเช่นนี้ การทำความเข้าใจความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผลต่อ
พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนและตัวแสดงทางการเมืองอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จะเป็นตัวอย่างที่ดี
ต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองในระดับภูมิภาคและระดับประเทศได้เป็นอย่างดี การจับตาของ
ประเด็นทั้งหลายที่กล่าวมานั้น จึงควรจะได้รับการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับ
พื้นที่ เพื่อการทำความเข้าใจพฤติกรรมการเมือง กติกาใหม่ทางการเมือง ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะ
นำไปสู่การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในระบอบที่เปลี่ยนผ่านต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมือง ขององค์กรและกลุ่มทาง
การเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดร้อยเอ็ด
(2) เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมทางการเมือง ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร
ในจังหวัดร้อยเอ็ด
(3) เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามี
บทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด
(4) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง
ของประชาชน และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในจังหวัดร้อยเอ็ด
1.3 ขอบเขตการศึกษา
(1) ขอบเขตด้านเวลา ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อน
การเลือกตั้ง ช่วงระหว่างการมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือน
ภายหลังจากคณะกรรมการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดที่กำหนด
(2) ขอบเขตประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ หอการค้าจังหวัด
องค์กรสาธารณะ สื่อมวลชน และองค์กรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้ง ทั้งในระดับประเทศและในระดับเขต
จังหวัดที่กำหนด ตลอดจนความตื่นตัวสนใจ การเข้ามีส่วนร่วม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด