Page 294 - kpiebook62009
P. 294
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
2) มีการเชื่อมต่อเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือ เกิดแกนนำชุมชนในการให้
ความช่วยเหลือ
3) เครือข่ายที่สนับสนุน เช่น ทม. พระครู(ในการเรื่องสิ่งของบริจาค) อสม.(ช่วยส่งข้อมูล)
รพ.นครพิงค์ ฯลฯ
4) มีพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ มีการพัฒนาต่อยอดตัวเอง และเห็นภาพการปฏิบัติงานดีขึ้น
เรื่อยๆ
5) มีการพัฒนาระบบ CM ร่วมกับ CG ซึ่งเราจะมีเป้าหมายในการฟื้นฟูเป็นระยะชัดเจน
และวางแผนการดูแล (Care Plan) ชัดเจน
6) มีประชาชนพื้นที่ใกล้เคียงมาใช้บริการมากขึ้น โดยชมรมผู้สูงอายุ ไปดำเนินการเอง เช่น
กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน ฯลฯ
7) เกิด “วิถีดูแลกันและกัน”
8) เครือข่าย อสม. มีระบบการดูแล “ป๊อกใคร ป๊อกมัน” ระบบเป็นหูเป็นตา
9) เกิดระบบ “สหอาสา”
10) การสร้างเครือข่ายในโครงการนี้เป็นการสร้างเครือข่ายโดยสมบูรณ์ ทั้ง อาสา CG อสม.
ชมรมผู้สูงอายุ อพม. รพสต. ฯลฯ: เริ่มจากผู้สูงอายุ 3000 กว่าคน และมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก
กระบวนการที่สร้างขึ้น มีความครบกระบวนการและครบวงจร
3. โครงการเด็กนอกคอก
เป็นโครงการที่พัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาสำหรับเด็กในโรงเรียนอนุบาลเทศบาล
ตำบลแม่เหียะ ต่อยอดมาจาก “โตไปไม่โกง”
ความร่วมมือจากหลายเครือข่าย เช่น โรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา กองสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อม ธนาคารออมสิน รพสต. ฯลฯ
หลักสูตร ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความเป็นธรรม คุณธรรมจริยธรรม การออม
การสนับสนุนของเครือข่าย
- เครือข่าย: ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน(คลังภูมิปัญญาท้องถิ่น) กลุ่มผู้สูงอายุ
- เน้น ปรับหลักสูตร เพื่อพัฒนาพฤติกรรมเด็กและเยาวชน มีหลายโครงการ/กิจกรรมที่
ดำเนินการ ดึงโครงการต่างๆ มาพัฒนาเป็นหลักสูตร จาก 8 กิจกรรม เป็นหลักสูตร พัฒนากระตุ้นเร้า
เสริมสร้าง เด็กและเยาวชน
- เครือข่ายนวัตกรรมเด็กนอกคอก เกิดจากวัด ทำโครงการภายใต้โครงการหมู่บ้านรักษาศีล
5 กลุ่มน้อยหนานอาจารย์เก่า สถาบันพลังจิต ผอ.โรงเรียน ธ.ออมสิน เทศบาลเป็นส่วนกลางในการเสริม/
สนับสนุน สู่กระบวนการการกำหนดหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วม เช่น โครงการอุ๊ยจูงหลานเข้าวัด การปั้นดิน
ฯลฯ
253